Page 157 - kpiebook63031
P. 157
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
156 จังหวัดอุบลราชธานี
เขตเลือกตั้งที่ 9 อำาเภอบุณฑริก อำาเภอนาจะหลวย อำาเภอสิรินธร (ยกเว้น ต.ฝางคำา ต.คันไร่
ต.นิคมสร้างตนเองลำาโดมน้อย) สำารวจ เมื่อวันเสาร์ ที่ 9 มีนาคม 2562 จำานวนกลุ่มตัวอย่าง
3,327 ตัวอย่าง แยกเก็บข้อมูล 17 ตำาบล/เขต อปท. เป็นเขตที่เป็นการแข่งขันกันระหว่าง 3 พรรคการเมือง
คือ นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย นางรำาพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคพลังประชารัฐ และ
นายสุพจน์ วรรณสุข พรรคภูมิใจไทย จากจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 145,067 คน (ในวันเลือกตั้ง)
ผลการสำารวจก่อนเลือกตั้ง พบว่า นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย จะได้คะแนนเสียง
ร้อยละ 52.0 รองลงมา นางรำาพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคพลังประชารัฐ จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 28.3
และนายสุพจน์ วรรณสุข พรรคภูมิใจไทย จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 8.9 ตามลำาดับ
โดยผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ผู้ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คือ
นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย ได้ 33,157 คะแนน (อันดับสอง คือ นางรำาพูล ตันติวณิชชานนท์
พรรคพลังประชารัฐ ได้ 18,579 คะแนน และอันดับสาม คือ นายสุพจน์ วรรณสุข พรรคภูมิใจไทย
ได้ 14,518 คะแนน ตามลำาดับ)
เขตเลือกตั้งที่ 10 อำาเภอนำ้ายืน อำาเภอนำ้าขุ่น อำาเภอทุ่งศรีอุดม อำาเภอสำาโรง อำาเภอเดชอุดม
(เฉพาะ ต.ทุ่งเทิง) สำารวจเมื่อ วันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2562 และ วันพฤหัสบดี ที่ 7 มีนาคม 2562 จำานวน
กลุ่มตัวอย่าง 3,146 ตัวอย่าง แยกเก็บข้อมูล 22 ตำาบล/เขต อปท. เป็นเขตที่เป็นการแข่งขันกันระหว่าง
3 กลุ่มพรรคการเมือง ประกอบด้วย นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย นายประจักษ์ แสงคำา พรรคพลัง
ประชารัฐ และนายเติม ศรีเนตร พรรคภูมิใจไทย จากจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 148,435 คน (ในวันเลือกตั้ง)
ผลการสำารวจก่อนเลือกตั้ง พบว่า นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย จะได้คะแนนเสียง
ร้อยละ 49.7 รองลงมา นายประจักษ์ แสงคำา พรรคพลังประชารัฐ จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 29.8 และ
นายเติม ศรีเนตร พรรคภูมิใจไทย จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 3.2 ตามลำาดับ
โดยผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ผู้ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คือ นายสมคิด
เชื้อคง พรรคเพื่อไทย ได้ 36,657 คะแนน (อันดับสอง คือ นายประจักษ์ แสงคำา พรรคพลังประชารัฐ
ได้ 21,617 คะแนน และอันดับสาม คือ นายเติม ศรีเนตร พรรคภูมิใจไทย ได้ 10,261 คะแนน ตามลำาดับ)
กล่าวโดยสรุป ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำารวจทัศนคติ ความรู้สึก การตัดสินใจก่อนวันเลือกตั้ง
(24 มีนาคม 2562) โดยการทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง (Poll) เพื่อเปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วง
ก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อวิเคราะห์ว่า ปัจจัยเรื่องเงินซื้อเสียง
ซึ่งมักจะแจกหนึ่งวันก่อนเลือกตั้ง รวมทั้งวิธีการหาเสียงรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการลงพื้นที่
เพื่อทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง (Poll) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งในวันเลือกตั้งจริงหรือไม่อย่างไร