Page 7 - kpiebook63030
P. 7

6     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี





                                     บทสรุปผู้บริหำร

















                      หนังสือ การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดปัตตานี จัดทำาขึ้นจากรายงานวิจัย “เรื่อง การศึกษารูปแบบ วิธีการ และ

             ผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี” มีวัตถุประสงค์หลักสำาคัญ
             เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับพื้นที่ในช่วงเวลาการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562

             ในจังหวัดปัตตานีเพื่อทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมืองภายใต้กติกาใหม่ทางการเมืองที่ได้กำาหนดขึ้น
             ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งถือว่ามีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่

             การพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศในระบบประชาธิปไตยต่อไป สำาหรับโครงการวิจัยนี้ ทางผู้วิจัย
             ได้ทำาการเลือกพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาในโครงการนี้อยู่

             หกประการด้วยกันดังนี้ ประการแรกคือเพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง
             ขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี

             ประการที่สอง เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก
             ผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี ประการที่สามคือเพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน

             องค์กรสาธารณะและองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ในเขตจังหวัดปัตตานี ประการที่สี่ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรม

             ทางการเมือง ของประชาชนและกลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ในจังหวัดปัตตานี ประการที่ห้าเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง

             ค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน
             จังหวัดปัตตานี และวัตถุประสงค์ประการสุดท้ายคือเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง

             การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่
             เกิดขึ้นในเขตจังหวัดปัตตานี สำาหรับการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำาหนดแนวทางการวิจัย

             ที่เน้นการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในขอบเขตพื้นที่ของ
             การวิจัยที่ได้กำาหนดเอาไว้คือจังหวัดปัตตานี


                      ผลจากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความรุนแรงในพื้นที่จังหวัด

             ชายแดนภาคใต้ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ในการเลือกตั้งครั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวัง
             และมีการกำากับดูแลความปลอดภัยในการก่อเหตุความไม่สงบเป็นพิเศษในทุกหน่วยเลือกตั้งที่มี
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12