Page 54 - kpiebook63030
P. 54

53








                  หรือปลุกระดม กกต. สามารถสั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลได้ และหากผู้สมัครไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง

                  กกต. ก็อาจแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งไปยังผู้ให้บริการ หากมีค่าใช้จ่ายก็ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
                  นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ และสามารถนำามาเป็นเหตุให้ กกต. ดำาเนินการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบ กกต.

                  ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้


                          โดยโทษของการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 156 ว่า
                  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข

                  ที่คณะกรรมการกำาหนด มีโทษจำาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ

                          ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงออนไลน์ ไม่ว่าจะผ่านทาง

                  เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูป อินสตราแกรม กูเกิ้ล แอปพลิเคชัน จะถูกรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการหาเสียง

                  ตามที่ กกต. กำาหนดไว้ว่า ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่าย ในการเลือกตั้ง
                  ไม่เกิน 1,500,000 บาท ส่วนพรรคการเมืองต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน
                  35,000,000 บาท


                          สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยกล่าวถึง

                  การใช้เงินในการหาเสียงว่า หากลองไปพูดคุยกับผู้สมัครจริงๆ ค่าใช้จ่าย อย่างเช่น ค่าป้าย ค่ารถ ค่านำ้ามันรถ
                  ผู้ร่วมขบวนการในการหาเสียง อาจใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากว่าครั้งนี้ กกต. บอกว่า

                  จะจัดสรรเวลาหาเสียงให้ทางสื่อ คือ ห้ามซื้อสื่อก็จะลดเงินจำานวนนี้ลง แล้วก็บอกว่าขนาดของแผ่นป้าย
                  จะลดลง และจะต้องติดในเขตที่ กกต. จัดไว้ให้ ซึ่ง กกต. มองว่าเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้พรรคการเมือง

                  แล้ว


                          จะเห็นว่า เพดานค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำาหนดให้ถือเป็นจำานวนที่ไม่ได้มากนัก เนื่องจากต้อง
                  รวมค่าใช้จ่ายการหาเสียงด้วยวิธีการอื่นๆ ด้วย และอาจทำาให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองใช้ช่องทางใน

                  การสื่อสารได้น้อยลง สุดท้ายแล้วอาจทำาให้ประชาชนไม่สามารถทำาความรู้จักผู้สมัครและพรรคการเมืองได้


                          สิ่งที่ประชาชนควรรู้อีกอย่างหนึ่งคือ หากเราชื่นชอบผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ
                  และต้องการช่วยหาเสียงผ่านทางออนไลน์ หากมีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่ กกต. กำาหนด ผู้สมัคร และ

                  พรรคการเมืองจะต้องแจ้งรายละเอียดและค่าใช้จ่ายให้ กกต. ทราบด้วย


                          ตามระเบียบ กกต. วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ข้อ 11
                  ระบุว่า บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้สมัคร หรือสมาชิกพรรคการเมือง หากต้องการช่วยผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

                  หาเสียงออนไลน์ หากมีค่าใช้จ่ายในหารจัดทำาสื่อ หรือค่าตอบแทนต่างๆ ในการหาเสียงออนไลน์ รวมแล้ว
                  เกินกว่า 10,000 บาท ให้ผู้นั้นแจ้งค่าใช้จ่ายต่อผู้สมัครหรือพรรคการเมืองทราบ แล้วให้ผู้สมัครแจ้งให้

                  ผู้อำานวยการ กกต. จังหวัดทราบ ส่วนพรรคการเมืองให้แจ้งต่อเลขาธิการทราบ ซึ่งให้แจ้งรายละเอียด
                  ตามแบบฟอร์มของ กกต. (Ilaw 2561: ออนไลน์)
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59