Page 116 - kpiebook63029
P. 116
115
การหาเสียงพบปะประชาชนโดยตรงและผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองหนึ่ง
ได้วิเคราะห์ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำาให้นายเลิศศักดิ์ชนะการเลือกตั้งว่า “แม้คุณเลิศศักดิ์จะเคยเป็น
นายกเทศมนตรีเมืองวังสะพุง ซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 แต่คุณเลิศศักดิ์ก็มีเครือข่ายอยู่ทุกท้องที่
จากการทำาธุรกิจของเขา สังเกตได้เลยว่าในทุกอำาเภอจะมีบริษัทของเขาตั้งอยู่ ซึ่งเป็นบริษัทจำาหน่าย
รถจักรยานยนต์เครือพัฒนชัยยนต์ ก็จะได้ฐานเสียงจากลูกค้าตรงนี้เป็นตัวช่วย รวมถึงการทำาสโมสร
ฟุตบอลก็ทำาให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น และเขายังมีทีมงานทำาสื่อโซเชียลเข้าถึงทุกกลุ่ม
ได้ดีด้วย” (สัมภาษณ์ 22 พฤษภาคม 2562)
ประการที่ 2 การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองของผู้สมัคร ส.ส.
นอกจากกระแสพรรคเพื่อไทยที่ยังได้รับความนิยมสูงในจังหวัดเลยแล้ว การเปลี่ยนแปลง
พรรคการเมืองของผู้สมัครโดยเฉพาะจากเดิมที่เคยสังกัดพรรคเพื่อไทยย้ายมาสังกัดพรรคการเมืองใหม่
ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้ง พิจารณาได้จากกรณีนายทศพลและคนในตระกูล
สังขทรัพย์ ก่อนหน้านี้นายทศพลเคยทำางานร่วมกับนายทักษิณและเครือข่ายของนายทักษิณ ก่อนที่จะ
ตัดสินใจย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยและให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
การตัดสินใจในครั้งนั้นส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตระกูลสังขทรัพย์ในแง่ลบมากและยังกลายเป็นภาพ
ความทรงจำาของชาวจังหวัดเลย โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงถึงการทรยศต่ออุดมการณ์ และไม่เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้ง ทำาให้การเลือกตั้งทุกครั้งในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา
คนในตระกูลสังขทรัพย์ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกเลย ผู้ที่เคยสนับสนุนนายทศพล กล่าวกับผู้วิจัยว่า
“คุณทศพลถือเป็นผู้สมัครที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของประชาชนมากที่สุด เพราะเคยเป็นอดีต ส.ส. ถึง
7 สมัย แต่การย้ายพรรคการเมืองของเขาส่งผลต่อความนิยมในตัวเขาเป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่งคุณทศพล
จะส่งภรรยาลงแข่งกับคุณปรีชาซึ่งขณะอยู่พรรคเพื่อไทย แต่บังเอิญติดคุณสมบัติจึงส่งหลานชายลงแทน
ก็แพ้คุณปรีชา ยิ่งในปี 2557 คุณทศพลลงเลือกตั้งด้วยตัวเองก็แพ้คุณปรีชาเช่นเดิมและขาดลอย แต่พอดี
การเลือกตั้งเป็นโมฆะก่อน” “ในวันที่มีการถ่ายทอดสดเลือกนายกรัฐมนตรี ประชาชนเขาก็ดูทีวีเห็น
77
ผู้แทนที่เขาเลือกไปโหวตเลือกนายกที่เขาไม่ได้เลือก ทำาให้คนเขาไม่พอใจ แค้น และจำาฝังใจ บางคนออกมา
ชูป้ายต่อต้าน ครั้งต่อมาคนเขาเลยไม่เลือก นี่เป็นเหตุผลหลักที่ทำาให้ทศพลแพ้ ซึ่งที่ผ่านมาใครย้ายพรรค
คือไปแล้วไปเลย อนาคตก็กลับเข้ามาในการเมืองในจังหวัดเลยลำาบาก” (สัมภาษณ์ 25 เมษายน 2562)
เช่นเดียวกับนายวันชัย แม้นายวันชัยจะเป็นอดีต ส.ส. ในพื้นที่ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ได้รับ
การเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเนื่องจากมีฐานเสียงคะแนนที่เหนียวแน่น แต่นั่นมิได้เป็นฐานเสียงที่สนับสนุน
นายวันชัยโดยตรง แต่เป็นฐานเสียงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยเป็นหลัก การย้ายพรรคของนายวันชัย
77 ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งนางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส.
จังหวัดเลย เขต 1 พรรคภูมิใจไทยลงมติเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี