Page 102 - kpiebook63029
P. 102
101
(4) เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อประชาชน พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยี ส่งเสริมธุรกิจ
ใหม่ สร้างไทยเท่าทันโลก
(5) เปิดข้อมูลรัฐกำาจัดทุจริต สร้างรัฐโปร่งใส ให้อำานาจตรวจสอบอยู่ในมือประชาชน
(6) โอบรับความหลากหลาย เคารพความแตกต่าง ศักดิ์ศรีคนต้องเท่าเทียม
(7) สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ลดใช้พลาสติก สร้างเศรษฐกิจจากขยะ
(8) ปฏิรูปกองทัพ ลดนายพล ละอาวุธ เลิกเกณฑ์ทหาร
จะเห็นได้ว่าแต่ละพรรคได้ให้ความสำาคัญกับการเสนอนโยบายการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ยังคง
ให้ความสำาคัญกับปัญหาเศรษฐกิจเป็นลำาดับแรก และสังเกตได้ว่าแต่ละพรรคจะมีนโยบายที่ตอบสนอง
ต่อคนทุกกลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงจากหลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น
จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้น นโยบายของพรรคการเมืองถือเป็นปัจจัยสำาคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อ
การตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่การมีนโยบายที่ดีและโดดเด่น
เท่านั้น ตัวพรรคการเมืองเองยังเป็นส่วนสำาคัญอีกประการหนึ่งที่ทำาให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อพรรคว่า
จะสามารถดำาเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่จากผลงานที่ประสบความสำาเร็จอย่างเป็น
รูปธรรมในอดีต
จากการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองหนึ่ง กล่าวว่า “ตนมีความมั่นใจสูง แม้จะมี
คู่แข่งทางการเมืองที่เคยเป็นถึงอดีต ส.ส. แต่ชาวเลยยังศรัทธาต่อพรรคเพื่อไทยจากการดำาเนินนโยบาย
ที่ผ่านมาอย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนจับต้องได้ แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคเสนอนโยบายเดียวกัน
แต่พยายามทำาให้เหนือกว่า แต่ชาวบ้านเขาไม่เชื่อว่าจะทำาได้ เพราะเขาดูจากผลงานในอดีตว่าคุณสามารถ
ทำาได้จริงอย่างที่พูดหรือไม่” (สัมภาษณ์ วันที่ 25 เมษายน 2562) ส่วนผู้สมัคร ส.ส. อีกคนหนึ่ง กล่าวว่า
“นโยบายมีผลต่อการเลือกของประชาชนอย่างมาก อย่างพรรคเราก็มีนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชนใน
พื้นที่ ชาวบ้านหลายคนเขาชอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพราะทำาให้มีเงินไปซื้อของ ลดค่าใช้จ่ายในบ้าน และ
พรรคพลังประชารัฐมีโครงการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสินค้าการเกษตรให้กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเลย
ที่กำาลังประสบปัญหาในขณะนี้ด้วย” (สัมภาษณ์ วันที่ 28 เมษายน 2562) ขณะที่ ผู้สมัคร ส.ส. จาก
พรรคการเมืองหนึ่ง กล่าวว่า “นโยบายพรรคถือเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่ส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้ง
เท่านั้น หลายพรรคก็มีนโยบายไม่แตกต่างกันมาก ถ้าเอาตัวชี้วัดว่านโยบายพรรคไหนดีแล้วคนจะเลือกนั้น
มันคงไม่ใช้ มันต้องดูด้วยว่าทำาไหม แต่ผมมองว่า เดี๋ยวคนเขาเลือกที่อุดมการณ์ของพรรคมากกว่า
ว่าฝ่ายไหนสนับสนุนหรือต่อต้าน คสช. รวมถึงมองตัวบุคคล มองนามสกุลด้วย” (สัมภาษณ์ วันที่
22 พฤษภาคม 2562)