Page 64 - kpiebook63028
P. 64
63
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิต เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีฝีปากกล้า ใช้เวทีการหาเสียงโจมตีการบริหารงาน
ของรัฐบาลเผด็จการ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศได้ประมาณสองปี ในปี พ.ศ. 2514
จอมพลถนอมฯ ได้ทำาการรัฐประหารยึดอำานาจ และได้ทำาการปกครองประเทศ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์
“วันมหาวิปโยค” เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ส่งผลให้ จอมพลถนอมฯ และพวก ต้องหลบหนีออก
นอกประเทศ
การเลือกตั้งครั้งที่ 10 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 การเลือกตั้งเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์
จังหวัดชลบุรีมีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น 1 คน จากเดิมจากเดิมที่มี 3 คน รวมมีสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 4 คน เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลัง 16 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นไปอย่างคึกคัก มีพรรคการเมืองจำานวนมากส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร โดยจังหวัดชลบุรีแบ่งออกเป็น 2 เขต ผลการเลือกตั้งผู้ชนะการเลือกตั้งได้แก่ เขต 1 นายอุทัย พิมพ์ใจชน
สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นายบุญชู โรจนเสถียร สังกัดพรรคกิจสังคม นายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้รับความนิยมชมชอบ
จากชาวชลบุรีอย่างมากจากการที่กล้าหาญฟ้องจอมพลถนอม กิตติขจร ในช่วงที่ประเทศปกครองโดยเผด็จการ
2
ทหาร และถูกจำาคุกจากการการะทำาดังกล่าว จึงชนะเลือกตั้งไปอย่างง่ายดาย ส่วนนายบุญชู โรจนเสถียร
นั้นได้รับเลือกเนื่องจากเป็นชาวชลบุรีโดยกำาเนิด เขาเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกรุงเทพ จำากัด และ
ด้วยการชักนำาสู่วงการเมืองโดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พาเข้าพบและรับการสนับสนุนจาก
นายจุมพล สุขภารังษี หรือ เสี่ยจิว ผู้กว้างขวางในจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น ส่วนเขต 2 นั้น ผู้ที่ได้รับเลือก คือ
นายดรงค์ สิงห์โตทอง สังกัดพรรคสันติชน และนายประจวบ ศิริวรวาท นายดรงค์ สิงโตห์ทอง หรือ เฮียซุ้ย นั้น
เป็นผู้กว้างขวางในวงการพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะบรรดาชาวไร่อ้อยในแถบอำาเภอรอบนอกของจังหวัดชลบุรี
ภายหลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งครั้งที่ 11 มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ผู้ได้รับการเลือกตั้ง
มาจากพรรคการเมืองที่หลากหลายทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคกิจสังคม ดังนี้
เขต 1 นายบุญชู โรจนเสถียร สังกัดพรรคกิจสังคม และนายอุทัย พิมพ์ใจชน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 พลตรีศิริ สิริโยธิน สังกัดพรรคชาติไทย และนายประสิทธิ์ จิตต์อารีย์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลัง
การเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี และสภาได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมือง โดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำาการยึดอำานาจเมื่อ
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร
2 นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จนกระทั่ง
เกิดรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ยึดอำานาจตัวเอง
นายอุทัย พิมพ์ใจชน พร้อมด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีก 2 คน คือ นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำา
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำาเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏ ถือเป็นการท้าทายอำานาจของผู้มีอำานาจอย่างตรงไป
ตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความว่าที่จอมพล ถนอม ทำาถูกต้องหมดแล้วเพราะอยู่ในฐานะรัฐถาธิปัตย์ และทำาให้ทั้งสามคน
ตกเป็นจำาเลย และถูกจำาคุก ทั้งสามถูกปล่อยตัวในเวลาหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516