Page 6 - kpiebook63028
P. 6
5
บทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร จังหวัดชลบุรี 2562 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ หนึ่ง เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง
และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรในจังหวัดชลบุรี ก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สอง เพื่อศึกษา
พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครในจังหวัดชลบุรีช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง สาม เพื่อศึกษาผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรีเป็นรายพรรคและรายเขตเลือกตั้ง สี่ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เป็นรายพรรคและรายเขตเลือกตั้ง และห้า เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรม
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง
การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง มีผลการวิจัยดังนี้
บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง พบว่าในการเลือกตั้ง “ระบบจัดสรร
ปันส่วนผสม” พรรคพลังประชารัฐ ดึงตัวผู้สมัครจากพรรคการเมืองเก่า รวมถึงการตั้งและยุบพรรคไทยรักษาชาติ
เกิดการถ่ายเทคะแนน ไปสู่พรรคอนาคตใหม่ ความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย
ใช้รูปแบบการหาเสียงที่เน้นผู้สมัครมาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีเงินทุน และใช้ระบบหัวคะแนนอย่างเข้มข้น
ในขณะที่ พรรคอนาคตใหม่ ใช้รูปแบบการหาเสียงที่เน้นนโยบายพรรคการเมืองอย่างเข้มข้น ผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี ในภาพรวมทั้งจังหวัดชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้รับเลือกจำานวน
5 คน พรรคอนาคตใหม่ ได้รับเลือกจำานวน 3 คน คะแนนรวมทั้งจังหวัด พรรคพลังประชารัฐ มากที่สุด
รองมา คือ พรรคอนาคตใหม่ วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี พรรคที่ประสบ
ความสำาเร็จ คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรคพลังชล พรรคอนาคตใหม่ พรรคที่ประสบความล้มเหลว คือ
พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย พฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี
ในเขต 1 2 3 4 และ 8 ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน โดยมีรูปแบบการลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง
หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองมากที่สุด พฤติกรรมการการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี
เขต 5 6 7 ในภาพรวม เป็นไปแบบผสมผสาน รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนตาม
แนวนโยบายใกล้เคียงกับรูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมืองหรือระบบอุปถัมภ์
ทางการเมือง ในขณะที่นักการเมืองที่ย้ายพรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีทั้งที่ประสบความสำาเร็จและประสบ
ความล้มเหลว