Page 53 - kpiebook63023
P. 53
53
นอกจากนั้นแล้ว อบจ.ยังอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นโดยเรียกค่าบริการได้ รวมทั้งการดำาเนินกิจการของ อบจ. ที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์
อาจทำาได้ โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำาหนด
พระราชบัญญัติกำาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ อบจ. มีอำานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ ในท้องถิ่นของตน ดังนี้
1. การจัดทำาแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำาแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบ
ที่คณะรัฐมนตรีกำาหนด
2. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
3. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
5. การคุ้มครอง ดูแล และบำารุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. การจัดการศึกษา
7. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
8. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
9. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
10. การจัดตั้งและดูแลระบบบำาบัดนำ้าเสียรวม
11. การกำาจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
12. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
13. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางนำ้า
14. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
15. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำากิจการไม่ว่าจะดำาเนินการเองหรือร่วมกับบุคคล
อื่นหรือจากสหการ
16. การสร้างและบำารุงรักษาทางบกและทางนำ้าที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น