Page 155 - kpiebook63020
P. 155
1
พัฒนาเทศบาลตำบลกำแพงให้เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีความสุข และเกิดการพัฒนา
แบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาในพื้นที่ พัฒนาทรัพยากรบุคคล
ให้มีความสามารถ และพัฒนาเมืองควบคู่กันไป ซึ่งการดำเนินงานของเทศบาลตำบลกำแพง
ที่ผ่านมานั้นได้ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน เริ่มตั้งแต่กระบวนการ
วางแผน การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติ และการระดมทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกัน ตลอดจน
การพัฒนาศักยภาพของเทศบาลในการรักษาไว้ซึ่งความร่วมมือของกลุ่มภาคีเครือข่ายในการ
สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างบรรลุเป้าหมายสาธารณะ
ตัวอย่างโครงการที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และ
ประชาสังคม
โครงการบริหารจัดการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร
เทศบาลตำบลกำแพง
เทศบาลตำบลกำแพง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง มีการเติบโตของ
เมืองรองลงมาจากเทศบาลเมืองสตูล ทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว
และบริการของจังหวัดสตูล ในแต่ละปีพื้นที่ของเทศบาลตำบลกำแพงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวนับแสนคนต่อปี ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
ในพื้นที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้ามความเจริญของเมืองและการขยายตัวของ
ภาคการท่องเที่ยวและบริการก็ได้นำมาสู่ปัญหาขยะที่มีปริมาณมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อ
ความสามารถในการรองรับการกำจัดขยะของหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งในระยะยาว
หากไม่สามารถแก้ปัญหาขยะได้ก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและ
ระบบนิเวศทางธรรมชาติต่อไป
จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมจึงเกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของเทศบาลตำบลกำแพงที่เล็งเห็น
ถึงปัญหาขยะล้นเมือง โดยมีนโยบายสำคัญในการกำจัดขยะในพื้นที่ให้เป็นศูนย์ หรือเหลือ
ปริมาณขยะในพื้นที่ให้น้อยที่สุดก่อนนำเข้าระบบกำจัด เทศบาลตำบลกำแพงจึงใช้วิธี
การบริหารจัดการขยะแบบภาคีเครือข่ายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ
ดำเนินงาน ซึ่งการกำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจรนั้นได้มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
กลางทาง และปลายทาง ดังนี้
รางวัลพระปกเกล้า 63