Page 320 - kpiebook63010
P. 320

319









                  บทที่ 4






                  บทวิเคราะห์















                          ในการวิเคราะห์การเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จะขออภิปรายภาพรวมใน 4 ประเด็นใหญ่

                  ได้แก่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางการเมืองกรุงเทพมหานคร ผลการเลือกตัั้ง
                  รายเขต ความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงของพรรคหลักทั้ง 4 พรรคในกรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์

                  การหาเสียง ความขัดแย้งทางการเมืองและรอยแยกทางสังคม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง



                  4.1 บทวิเคราะห์ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางการเมือง:


                  ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร 24 มีนาคม พ.ศ. 2562




                          ในการพิจารณาผลการเลือกตั้งนั้น เราไม่สามารถดูผลคะแนนทั้งภาพรวมและรายเขตโดยไม่เข้าใจ

                  พัฒนาการของพื้นที่ได้ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร
                  เราจะต้องวิเคราะห์และแบ่งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครโดยอ้างอิงกับสภาพการใช้ที่ดินหลัก ๆ ของกรุงเทพมหานคร

                  ที่บ่งชี้ให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของชุมชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมอื่นๆ

                          หากพิจารณาตามร่างประกาศผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ปรับปรุงครั้งที่ 4 (คาดว่าจะประกาศใช้ไม่เกิน
                  พ.ศ. 2563 ส่วนผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2556 ที่ใช้อยู่ เป็นผังปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งสะท้อนถึงสถานะปัจจุบัน

                  และแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม
                  ของเมืองผ่านการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและตั้งชุมชน (settlement) จะพบว่า ในความหมายของเขต

                  ที่อยู่อาศัยหนาแน่นตั้งแต่หนาแน่นมากถึงหนาแน่นปานกลางจะเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
                  อย่างรวดเร็ว และมีการผสมกันของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่อาศัยในรูปแบบใหม่ เช่น คอนโดมิเนียม ซึ่งจะมาด้วย

                  คนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น ผสมกับพื้นที่พักอาศัยแบบเดิมที่มีทั้งกลุ่มบ้าน และบ้านจัดสรรที่เข้าใจกันในโลกทัศน์ของ
                  การรณรงค์เลือกตั้งว่า “บ้านมีรั้ว” และ การตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่อยู่อย่างใกล้ชิดกันและมักมีการปรึกษาหารือ

                  และตัดสินใจร่วมกันที่เข้าใจกันในโลกทัศน์ของการรณรงค์เลือกตั้งว่า “ชุมชน” ขณะที่พื้นที่อาศัยในรูปแบบ
                  ที่เป็นพื้นที่สีเขียวเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยก็จะมีพื้นที่ผสมกันระหว่างบ้านมีรั้ว กับ “ชุมชน” ใน

                  สัดส่วนที่ต่างกันออกไป
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325