Page 158 - kpiebook63010
P. 158
157
จากการเก็บข้อมูลการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองข้างต้น พอจะท�าให้เห็นภาพ
ของความตื่นตัวของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และความพร้อมของพรรคการเมืองหลังจากที่
ประเทศไทยร้างจากการเลือกตั้งมานานเกือบทศวรรษ แต่ละพรรคการเมืองต่างมีการเตรียมเนื้อหาในการพูด
เพื่อให้ได้ใจและได้แรงสนับสนุนจากประชาชน และการพูดเน้นย�้าความชัดเจนในจุดยืนของพรรค การเลือกสถานที่
ปราศรัยของแต่ละพรรคการเมือง การออกแบบรูปแบบการพูดปราศรัย เช่น พรรคอนาคตใหม่ จัดปราศรัย
ในลักษณะที่ให้ความใกล้ชิด เป็นกันเองกับประชาชนที่มาร่วมฟังปราศรัย
ความน่าสนใจของการปราศรัยหาเสียงคือ การปราศรัยหาเสียงใหญ่ในวันที่ 22 มีนาคม 2562
ซึ่งเป็นการปราศรัยที่ทุกพรรคการเมืองต้องงัดไม้เด็ด น�ากลยุทธ์ที่มีมาใช้ เช่น พรรคพลังประชารัฐที่ดึงจุดสนใจ
ไปที่พลเอกประยุทธ์ จากข้อมูลจะเห็นว่า ก่อนหน้านั้นที่มีการปราศรัยของพรรค พลเอกประยุทธ์ไม่เคยไปร่วม
ปราศรัย มีเพียงการส่งคลิปปราศรัยไปเปิดบนเวทีปราศรัย แต่ในคืนวันที่ 22 มีนาคม ซึ่งเป็นโค้งสุดท้าย
ของการปราศรัยหาเสียง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขึ้นเวทีร่วมปราศรัยหาเสียงในนามแคนดิเตด
ของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจของประชาชน และมีการพูดถึงกันมาก
และทุกพรรคใหญ่จะมีการปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพมหานคร
3.1.1.4 สื่อของพรรคการเมืองและผู้สมัครที่ใช้ในการหาเสียง
ในส่วนนี้จะน�าเสนอการใช้สื่อของพรรคการเมืองและผู้สมัครออกเป็นสองส่วนคือ สื่อทั่วไป กับสื่อออนไลน์
ก. สื่อทั่วไป: ป้ายหาเสียง แผ่นพับ และแผ่นพก
1) ป้ายหาเสียง
ป้ายหาเสียง เป็นสื่อที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน และที่ส�าคัญก็คือมีระเบียบที่เข้มงวดเป็นอย่างมาก
รวมทั้งยังน�าไปสู่การแข่งขัน ความขัดแย้ง และ การร้องเรียนฟ้องร้องในหมู่ผู้สมัคร ทั้งนี้ เพราะพื้นที่ในการติด
มีน้อย จุดที่ส�าคัญต้องแย่งกัน และมีการก�าหนดจ�านวนในการติดว่าในหนึ่งเขตเลือกตั้งจะมีป้ายได้ไม่เกิน
สองเท่าของจ�านวนหน่วยเลือกตั้ง
ในส่วนนี้จะได้ท�าการน�าเสนอการรณรงคฺ์การเลือกตั้งด้วยป้ายหาเสียงของแต่ละพรรค โดยเริ่มจาก
ระเบียบเกี่ยวกับการรณรงค์เลือกตั้งด้วยป้ายหาเสียง และ การรณรงค์การเลือกตั้งด้วยป้ายหาเสียงทั้งหมด
29 พรรค โดยพิจารณาในเรื่อง ที่ตั้ง สโลแกน ภาพ และ ข้อความที่ปรากฏในภาพ