Page 134 - kpiebook63010
P. 134
133
3.1.1.2 การลงพื้นที่ (การเดินขบวนรณรงค์ และการพบปะประชาชน)
การลงพื้นที่หาเสียงในกรุงเทพมหานครของ 4 พรรคการเมืองใหญ่
การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้มีการแบ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครออกเป็น 30 เขต ซึ่งแตกต่าง
จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 ที่พื้นที่ในกรุงเทพมหานครถูกแบ่งออกเป็น 33 เขตเลือกตั้ง นอกจาก
ความแตกต่างของเขตเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกลงรับสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ก็มีจ�านวนเพิ่มมากขึ้นด้วย
การลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมือง มีความส�าคัญกับการลงคะแนนเลือกของ
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเป็นการพบปะประชาชน รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และจากการเก็บข้อมูลการลงพื้นที่
หาเสียงเลือกตั้งดังตารางด้านล่างนี้ พอจะแบ่งการลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหน้าที่
ของผู้สมัครที่ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตพื้นที่นั้น ๆ และส่วนที่สองคือ การจัดสรรคนหรือแกนน�าพรรคแต่ละพรรค
ในการลงพื้นที่ช่วยผู้สมัครของพรรคตนหาเสียงเลือกตั้งในพื้นที่
ดังนั้นตารางด้านล่างนี้ จะเป็นตัวอย่างตารางที่อธิบายการลงพื้นที่ของพรรคการเมืองในการช่วยเหลือ
ผู้สมัครของพรรคหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ โดยแบ่งเป็น 4 พรรคใหญ่ ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์
พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ (เพราะทั้งสี่พรรคมีคะแนนเสียงที่มีนัยยะส�าคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร) ส่วนเนื้อหาในตารางจะเป็นการไล่เรียงไปตามล�าดับเวลาของการลงพื้นที่หาเสียง
ของแต่ละพรรค ซึ่งตัวอย่างตารางข้อมูลการลงพื้นที่หาเสียงของพรรคการเมือง ไม่ได้มีข้อมูลครบทั้ง 30 เขต
ด้วยข้อจ�ากัดในการเก็บข้อมูล จึงท�าให้บางเขตพื้นที่ไม่มีข้อมูลของพรรคการเมืองบางพรรค (หมายเหตุ: ข้อมูล
ในส่วนนี้มาจากเว็บไซด์ของพรรค การค้นหาในอินเตอร์เน็ต และ ฐานข้อมูล Newscenter)
ตาราง 3.2 กิจกรรมการรณรงค์เลือกตั้งของพรรคการเมืองรายเขต
เขต วันเดือนปี พรรค รายละเอียดเกี่ยวกับการลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้ง
เขต 1 พระนคร ป้อมปราบ 13 ม.ค. 2562 ปชป. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สัมพันธ์วงศ์ ดุสิต นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคพร้อมแกนน�าพรรค
เปิดตัวว่าที่ผู้สสมัคร ส.ส. กทม. ทั้ง 30 เขต มีทีมงานใส่เสื้อ
แจ๊กเกตของพรรค ชูป้าย และมีการปล่อยขบวนรถหาเสียง
(ไทยโพสต์, 2562ช)