Page 88 - kpiebook63009
P. 88
88 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
ในส่วนของประชาชนเห็นว่า ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้ครบถ้วนเสียก่อน ดังคำาสัมภาษณ์
เจ้ำของธุรกิจรำยใหญ่ในอ�ำเภอด่ำนช้ำง เขตเลือกตั้งที่ 4 กล่าวว่า
“การตรวจสอบการเลือกตั้ง ต้องตรวจสอบตั้งแต่คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกว่ามีคุณสมบัติ
ครบไหมก่อนที่จะมาให้ประชาชนเลือก ไม่ใช่ให้ประชาชนเลือกไปแล้วตรวจสอบเสร็จคุณสมบัติ
ไม่ครบท�าให้ประชาชนเสียความรู้สึก เสียประโยชน์ของชาติ อันนี้พูดทั่ว ๆ ไปไม่ใช่สุพรรณบุรี”
และ เจ้ำของธุรกิจเกี่ยวกับกำรท่องเที่ยว/ธุรกิจกำรศึกษำ เขตเลือกตั้งที่ 4 กล่าวว่า
“การรับสมัครผู้รับเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติให้ชัดว่าถูกต้องไหม เพราะถ้าหากมาสอบ
ทีหลังแล้วต้องเลือกตั้งใหม่ เสียค่าใช้จ่ายนั่นคือภาษีประชาชน”
และ นักศึกษำ วิทยำลัยกำรสำธำรณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี เขตเลือกตั้งที่ 1 กล่าวว่า
“การตรวจสอบ น่าจะต้องบอกว่า กกต. ควรตรวจสอบสิทธิของผู้สมัครลงเลือกตั้งให้
ครบถ้วนก่อน ว่ามีสิทธิสมัครหรือไม่ แต่เลือกไปแล้วมีการตรวจสอบทีหลังแล้วแจกใบเหลือง ใบแดง
มันเสียเวลาของประชาชนที่จะต้องไปเลือกตั้งใหม่ เสียค่าใช้จ่ายภาครัฐ และที่ส�าคัญเสียความรู้สึก
ทั้งฝ่ายลงสมัครรับเลือกและประชาชนที่ไปเลือกต้องมีความคาดหวัง แต่เหมือนผิดหวังเล็กๆ”
1.2.7 สถานที่ปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบ แบ่งเขตเลือกตั้ง สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีหนังสือสำานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรีถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต แจ้งการกำาหนดสถานที่ปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ณ บริเวณและสถานที่ที่กำาหนด โดยแจ้งให้ดำาเนินการตามหลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำา สถานที่ปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
อย่างเคร่งครัด และจะต้องไม่ปิดแผ่นป้ายฯ ทับซ้อนหรือปิดบังแผ่นป้ายฯ ของผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองอื่น
หรือติดแผ่นป้ายนอกบริเวณที่กำาหนด ซึ่งได้มีการประสานไปยังหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ใน
จังหวัดสุพรรณบุรี และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล
และองค์การบริหารส่วนตำาบลในทุกอำาเภอ
ในการจัดทำาจำานวนป้ายฯ นั้นกำาหนดไว้ โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จัดทำาป้ายจำานวนไม่เกิน
2 เท่าของจำานวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง และให้พรรคการเมืองจัดทำาป้ายฯ จำานวนไม่เกิน 1 เท่าของ
จำานวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง และมีการกำาหนดไว้อย่างชัดเจนถึงขนาดความกว้าง ไม่เกิน 130 เซนติเมตร
และขนาดความยาวไม่เกิน 245 เซนติเมตร พร้อมให้ระบุชื่อตัวชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้างผลิต จำานวน และ
วันเดือนปีที่ผลิตไว้บริเวณที่เห็นได้ชัดเจนของแผ่นป้ายฯ