Page 53 - kpiebook63009
P. 53
53
2) นำาคะแนนเฉลี่ยตามข้อ 1) ไปหารคะแนนของแต่ละพรรคที่ได้รับจากคะแนนของผู้สมัคร
แบบแบ่งเขต ผลลัพท์ที่ได้คือ จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคพึงมี
3) นำาจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่แต่ละพรรคพึงมีตามข้อ 2) ลบด้วยจำานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตของแต่ละพรรคที่ได้รับ ผลลัพท์ที่ได้คือ จำานวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
ถ้าพรรคใดได้จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเท่ากับหรือมากกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พรรคพึงมีตามข้อ 2) พรรคนั้นจะได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
โดยจะไม่ได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีก
ถ้าพรรคใดได้จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตน้อยกว่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พรรคพึงมีตามข้อ 2) จะได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากบัญชีรายชื่อให้ครบตามจำานวนที่พึงมี
3.3 วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบจัดสรรปันส่วนผสม คิดทุกคะแนนของ
ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกคนทั้งที่ได้รับเลือกตั้งและไม่ได้รับเลือกตั้ง มีการจัดสรรจำานวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรให้ทุกพรรคตามสัดส่วนคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับโดยการใช้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตใบเดียว
4. กำรจัดกำรเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดจัดแบ่งส่วนงานออกเป็น 2 ส่วนงาน คือ
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด และผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด (ผอ.กต.จว.) โดยมี
รายละเอียด (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
มาตรา 18) ดังนี้
4.1 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�าจังหวัด ประกอบด้วย ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำา
จังหวัด 1 คน และกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดจำานวน 4 คน มีวาระการดำารงตำาแหน่ง 4 ปี นับแต่วันที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด
อำานาจหน้าที่ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
(มาตรา 19)
(1) อำานวยการการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งสนับสนุนการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ที่กระทำาภายในจังหวัดนั้น