Page 3 - kpiebook63009
P. 3
3
ค�ำน�ำสถำบันพระปกเกล้ำ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรก
ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา
ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหลายประการ ได้แก่ การนำาระบบการเลือกตั้งที่เรียกว่า “การเลือกตั้งแบบจัดสรร
ปันส่วนผสม” มาใช้ โดยกำาหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคน และประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
บัญชีรายชื่อนั้นเป็นการจัดสรรโดยคำานวณจากคะแนนรวมที่พรรคการเมืองได้จากการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตทั่วประเทศ การกำาหนดให้พรรคการเมืองสามารถเสนอรายชื่อบุคคลซึ่งสมควร
ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อ การกำาหนดในเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง รูปแบบและวิธีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ตลอดจนบทลงโทษกรณีกระทำาความผิดเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งที่เข้มข้นกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ นอกจากนี้ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ยังเกิดขึ้น
ท่ามกลางบริบทและสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งทั่วไป
ครั้งหลังสุดเมื่อปี 2554 เป็นอย่างมาก อาทิ การว่างเว้นจากการเลือกตั้งเกือบแปดปีทำาให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ครั้งแรก (First Time Voter) มากกว่า 7 ล้านคน การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของเทคโนโลยีการสื่อสาร
(Digital Disruption) ทำาให้สื่อใหม่ (new media) เข้ามามีอิทธิพลในการเลือกตั้งอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรก
การเปลี่ยนแปลงในกติกาและสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง
ยุทธวิธีการหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมถึงพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนของประชาชนอย่าง
มีนัยยะสำาคัญและน่าสนใจยิ่ง
หนังสือชุด “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562” นี้เป็นผลการศึกษาจากชุดโครงการวิจัยที่
สถาบันพระปกเกล้าได้จัดทำาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำารวจและบันทึกปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยเฉพาะ
ในมิติของความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม
พ.ศ. 2562 ในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ กำาแพงเพชร กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี
เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช แพร่ ร้อยเอ็ด สงขลา สุพรรณบุรี สุรินทร์ พะเยา พิษณุโลก ปัตตานี สุราษฎร์ธานี
เลย สระแก้ว และอุบลราชธานี ข้อมูลที่นำาเสนอในหนังสือชุดนี้ได้ฉายให้เห็นภาพในระดับพื้นที่ของบรรยากาศ
และความเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง องค์กรและกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรม