Page 139 - kpiebook63008
P. 139

139








                          หากพิจารณาจากนโยบาย แนวทางการดำาเนินกิจกรรมและลักษณะของพรรคที่ปรากฏในช่วงการหาเสียง

                  เลือกตั้งจะพบว่าภาพลักษณ์ของพรรคมีความโดดเด่นในการเป็นพรรคที่เป็นการผสมผสานของพรรคที่มีผู้สมัครเป็น
                  มุสลิมและพุทธ รวมถึงการเป็นพรรคที่แกนนำาพรรคและบุคลากรสำาคัญของพรรคมีบทบาทสำาคัญในฐานะผู้นำามุสลิม

                  และมีประสบการณ์สูงในปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ดังนั้นจึงถูกตั้งคำาถามและข้อสงสัยเช่นเดียวกันว่า
                  มีลักษณะเป็นพรรคของคนมุสลิม ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัวของพรรค แต่กระนั้นวัน

                  มูมะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคและบรรดาแกนนำาพรรคได้พยายามลดจุดอ่อนในประเด็นภาพลักษณ์ดังกล่าว
                  โดยอธิบายถึงภาพรวมของพรรคทั้งในด้านสมาชิกพรรคที่มีจำานวนราว 18,000 คน และในจำานวนดังกล่าว

                  มีสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนในภาคใต้ราว 5,000 คน และอีก 13,000 คนเป็นสมาชิกพรรคจากพื้นที่ต่าง ๆ
                  ทั่วประเทศ พร้อมกับยืนยันว่าเป็นพรรคของคนทุกชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม (คมชัดลึกออนไลน์, 2562)


                          ในด้านพื้นที่กลยุทธ์การช่วงชิงอดีต ส.ส. ให้มาสังกัดพรรคการเมืองของพรรคขนาดใหญ่นั้น

                  ถือเป็นกลยุทธ์ที่สร้างโอกาสชนะการเลือกตั้งมากที่สุด เขตเลือกตั้งที่  1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ย้ายจากพรรคเพื่อไทย
                  ไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และไทยรักษาชาติส่งวรสุดา สุขารมณ์ ลูกสาวนายแพทย์เดชา สุขารมณ์ อดีตรัฐมนตรีฯ

                  ลงสมัคร มีฐานเสียงจากพรรคเพื่อไทยเดิมและกลุ่ม นปช. เป็นสำาคัญ พร้อมด้วยดามพ์ เผด็จดัสกร อดีตดาราอาวุโสชื่อดัง
                  ลงสมัครฯ ในนามพรรคเพื่อชาติ สำาหรับเขต 2 ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร จากพรรคประชาธิปัตย์เดิมทีนั้น

                  มีฐานเสียงแน่นที่สุด แต่ก็ต้องช่วงชิงคะแนนกับสมเกียรติ วอนเพียร จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้นำาท้องถิ่น
                  ที่มีประสบการณ์สูงในการหาเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านในพื้นที่ ขณะที่เขต 3 เป็นการแข่งขันกันระหว่าง

                  พลตำารวจตรีกมลสันติ กลั่นบุศย์ อดีตนายตำารวจ จากพรรคพลังประชารัฐ มีฐานเสียงสนับสนุนโดย “กำานันเซี๊ยะ”
                  ประชา โพธิพิพิธ แข่งกับ “กำานันบอย” ปารเมศ โพธารากุล พรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส. เดิม สำาหรับเขตที่ 4

                  เป็นการแข่งขันที่สำาคัญระหว่างผู้สมัครฯ 3 คน ประกอบด้วย ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ พรรคพลังประชารัฐ
                  ลูกชายประชา โพธิพิพิธ อดีต ส.ส. เดิม และพลโททำานุ โพธิ์งาม พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักเรียนเตรียมทหาร

                  รุ่นเดียวกับพลเอกอภิรัช คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก และสันติชัย จีระพัฒน์ พรรคไทยรักษาชาติ
                  ทนายส่วนตัว “กำานันหยุ่น” ไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร และเขตเลือกตั้งที่ 5 เป็นการแข่งขันระหว่างอัฎฐพล โพธิพิพิธ

                  พรรคพลังประชารัฐ บุตรชายประชา โพธิพิพิธ ซึ่งย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์ และสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล
                  พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ มีฐานเสียงสำาคัญในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน

                  (อสม.) ทั่วจังหวัด และพนม โพธิ์แก้ว อดีตสมาชิกสภาจังหวัดกาญจนบุรี ลงสมัครในนามพรรคไทยรักษาชาติ
                  (ไทยรัฐออนไลน์, 2562)
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144