Page 58 - kpiebook63005
P. 58

57






                          กกต. จังหวัดขอนแก่นได้ให้เหตุผลถึงข้อดีของการแบ่งเขตในรูปแบบที่ 3 ว่า คล้ายคลึงกับรูปแบบ

                  ที่เคยประกาศใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้งปี 2554 และ 2557 มากที่สุด ซึ่งนักการเมืองและประชาชน
                  ในพื้นที่มีความคุ้นเคยกับการแบ่งเขตเลือกตั้งในรูปแบบนี้ เพียงแต่เขตเลือกตั้งที่ 1 ตำาบลแดงใหญ่

                  อำาเภอเมืองขอนแก่น จะถูกตัดออกไปอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 เพื่อให้จำานวนราษฎรใกล้เคียงกัน และข้อดี
                  อีกข้อคือ การคมนาคมระหว่างเขตต่างๆ มีความสะดวก ส่วนข้อเสียคือ ประชาชนตำาบลแดงใหญ่ อำาเภอ

                  เมือง อาจจะเกิดความสับสนเนื่องจากเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 เมื่อการเลือกตั้งปี 2554 และ 2557 และ
                  ข้อเสียอีกข้อคือ เขตอำาเภอเมืองมีราษฎรจำานวนมาก จำาเป็นต้องแยกอำาเภอเมืองทั้งหมดให้ครอบคลุม

                  เป็น 3 เขต คือ เขต 1 เขต 2 และ เขต 4 100

                          นอกจากนี้ กกต. จังหวัดขอนแก่นได้ทำางานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและ

                  ประชาสังคมภายใต้ยุทธศาสตร์ “คูนล้านดอก ไปออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส.” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้
                  ประชาชนไปใช้สิทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และเพื่อให้มีบัตรเสียน้อยกว่าร้อยละ 2  ตลอดจน มีการจัด
                                                                                         101
                                                                                    102
                  กิจกรรมเดินรณรงค์เชิญชวนให้ชาวขอนแก่นไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง
                          ในบทนี้ ผู้วิจัยจะกล่าวถึงความเคลื่อนไหวทางการเมืองของแต่ละพรรคการเมืองในจังหวัดขอนแก่น
                  ก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยจะไล่เรียงเฉพาะพรรคที่มีบทบาทเคลื่อนไหวใน

                  ขอนแก่น จากนั้น ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งของผู้สมัครทั้ง 10 เขต โดยการนำาเสนอ
                  จะกล่าวถึงทีละพรรค ดังนี้





                          พรรคพลังประชารัฐ


                          ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 นายชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดนำ้าคลองลัดมะยม
                  ได้ยื่นชื่อจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาล

                  พล.อ.ประยุทธ์อยู่เบื้องหลังและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อผลักดันให้พล.อ.ประยุทธ์
                  ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหลังจากการเลือกตั้ง  ต่อมาได้เชิญกลุ่มสามมิตร ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน
                                                            103
                  สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร่วมเป็นแกนนำาพรรค ซึ่งทั้งสามคนนี้เคยมีบทบาทสำาคัญ
                  ตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทยครองอำานาจ ขณะที่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ก็ยังเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

                                         104
                  ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  จากนั้น พรรคได้เริ่มขยายตัวขึ้นโดยเชิญอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิก
                  รัฐสภาและอดีตผู้สมัครสมาชิกรัฐสภาจำานวนมากจากพรรคอื่นเข้ามาร่วมงานกับพรรค



                  100  ประกาศสำานักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดขอนแก่น เรื่อง รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดขอนแก่น
                  เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัด ลงนามโดยนายอภินันท์ จันทร์อุปละ ผู้อำานวยการ
                  การเลือกตั้งประจำาจังหวัดขอนแก่น วันที่ 3 ตุลาคม 2561
                  101  “สนามบินขอนแก่นบูมเลือกตั้ง” เดลินิวส์, 5 มีนาคม 2562 หน้า 10
                  102  “ขอนแก่น นักเรียนเดินรณรงค์ให้ชาวขอนแก่นออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง (มีคลิป) ” Khon Kaen Link, 12 มีนาคม
                  2562 https://www.khonkaenlink.info/home/news/7958.html (เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2562)
                  103  “จ่อเปิดตัว ‘พรรคบิ๊กตู่-พลังประชารัฐ’” ข่าวสด, 11 มีนาคม 2561 หน้า 10,11
                  104  “‘กลุ่มสามมิตร’ คือใคร? ‘ประวิตร’ ชี้หนุน ‘ประยุทธ์’ นั่งนายกก็เรื่องของเขา” ประชาไท, 3 กรกฎาคม 2561
                  https://prachatai.com/journal/2018/07/77682 (เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561)
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63