Page 40 - kpiebook63001
P. 40
22
(3) ตระกูลการเมือง พื้นที่ฐานเสียงและการเมืองท้องถิ่น
นอกจากผลการเลือกตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
จะยืนยันได้ถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย รวมทั้ง
ทัศนคติทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อความชอบธรรมของการรัฐประหารแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญ
ในการพิจารณาถึงรูปแบบการแข่งขันและเครือข่ายการเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ด คือ ตระกูลการเมือง
ในจังหวัด ซึ่งปรากฏชัดเจนในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองจากการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับ
20
21
ท้องถิ่น โดยที่แต่ละตระกูลจะมีพื้นที่ซึ่งเป็นฐานคะแนนนิยมที่เข้มแข็งของตนเองในแต่ละอำเภอ ดังตารางที่
2.7 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับชาติและการเมืองท้องถิ่นผ่านกลไกของตระกูล
22
การเมืองอย่างมีนัยสำคัญ
ตารางที่ 2.7 แสดงตัวอย่างตระกูลการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
บุคคลสำคัญที่มีบทบาท
ตระกูล ตำแหน่ง พื้นที่ฐานเสียงหลัก
ทางการเมือง
จุรีมาศ อนุรักษ์ จุรีมาศ - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์
- อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ร้อยเอ็ด
- อดีตรองเลขาธิการพรรคชาติไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ร้อยเอ็ด อ.ร้อยเอ็ด
อ.ศรีสมเด็จ
ทินกร จุรีมาศ - อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
บรรจง โฆษิตจิรนันท์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ร้อยเอ็ด
- นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด
เกื้อจิตต์ จุรีมาศ - สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
อ.ศรีสมเด็จ เขตเลือกตั้งที่ 1
20 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน อรอนงค์ ซ้ายโพธิ์กลาง และศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ, 2558, นักการเมืองถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด,
กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
21 รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ให้ข้อสังเกตต่อการขยายตัวของตระกูลการเมืองไว้ว่า ผลจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นำไปสู่การเติบโตของตระกูลการเมืองในสนามเลือกตั้งระดับต่างๆ ซึ่งนักการเมืองบางตระกูลสามารถ
ยึดพื้นที่ได้ทั้งในสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ้างใน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, 2548, จาก Thaksinomics
สู่ ทักษิณาธิปไตย, (กรุงเทพฯ : openbooks), หน้า 123.
22 ดูคำอธิบายได้ใน James Ockey, (2017), “Team Work: Shifting Patterns and Relationships in Local and
National Politics in Thailand”. Sojourn 32(3): 562-600.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด