Page 259 - kpiebook62009
P. 259

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                            - สถานประกอบการในสวนอุตสาหกรรม เป็นสถานที่ดูงาน/เรียนรู้ การทำงาน

                            - เด็ก/เยาวชน ลงปฏิบัติงาน (ลงชื่อ เช้า-บ่ายทุกวัน) เพื่อทำงานสาธารณประโยชน์ในพื้นที่
               วัด โรงเรียน ชุมชนต่างๆ และเด็กก็จะเก็บข้อมูล ภาพถ่าย ปัญหาที่พบในชุมชน และมานำเสนอให้แก่

               เทศบาลฯ

                            - เทศบาลสนับสนุนค่าเบี้ยเลี้ยงให้เด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ คนละ 3,400 บาท เพื่อปลูก
               จิตสำนึกในการรู้คุณค่าของเงิน การใช้เงินอย่างประหยัด

                            - วันปิดโครงการ เด็กนำเสนอผลการทำกิจกรรม และแผนตามความต้องการของเด็กและ

               เยาวชนในพื้นที่ต่อผู้บริหารท้องถิ่น ส่วนราชการต่างๆ แกนนำชุมชน
                            - การดำเนินงานใช้งบประมาณ 4 แสนบาท

                            ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

                            - เกิดเครือข่ายเด็ก เยาวชน ป้องกันยาเสพติด โดยช่วยสอดส่อง แจ้งเหตุต่างๆ ตรวจตรา
               อุปกรณ์สาธารณะในกลุ่มไลน์ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในกลุ่มนี้

                            - เด็กมีส่วนร่วมการทำแผนชุมชน  มีโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความคิดเห็นของเด็ก/

               เยาวชน  เช่น โครงการสร้าง internet wifi ชุมชน เกิดจากเด็กกลุ่มนี้-เด็กมีส่วนร่วมทำแผนตั้งกลุ่มไลน์
               เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในกลุ่มด้วย เด็กแจ้งเหตุ เช่น เครือข่ายยาเสพติด

                            - ปัญหาเด็กแว้น ปัญหาอาชญากรรมกรรม ยาเสพติด ในพื้นที่ตำบลบางกะดีน้อยลง/แทบ

               ไม่มี
                            - เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล วัด รร. ถนน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ

                            - มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก

                            - เด็กได้รู้จักกัน มีความสามัคคี ร่วมกันทำกิจกรรม ทำความดี จากคนที่เคยไปทำลาย เช่น
               พ่นสี ก็กลายมาร่วมกัน ได้รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนมากขึ้น

                            - เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ผู้ปกครองให้ข้อมูล) เช่น มีวินัย ไม่เกเร กลับบ้าน
               ตรงเวลา ช่วยทำงานบ้าน มีระเบียบมากขึ้น รู้จักค่าของเงิน รักครอบครัว

                            - เยาวชนกลุ่มนี้ เป็นแกนนำเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมชุมชน/ท้องถิ่น เช่น สงกรานต์

               เข้าพรรษา
                            - เยาวชนนำเบี้ยเลี้ยงที่เหลือไปใช้ในการศึกษา ประหยัดรายจ่ายของครอบครัว

                            - เยาวชนมีความรัก สามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

                         2. โครงการ “ทุนการศึกษาเงินบริจาค CSR สถานประกอบการในบางกะดี” โครงการนี้เริ่ม
               มาตั้งแต่ปี 2553ถึงปัจจุบัน  โดยนายกฯ เห็นว่าพื้นที่บางกะดี มีสวนอุตสาหกรรม เทศบาลจึงประสานไป

               ยังโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง เพื่อรวมกลุ่มทำ CSR เงินบริจาคเข้ากองทุนนอกงบประมาณของเทศบาล

               ซึ่งโรงงานสามารถนำไปหักภาษีได้ทั้งหมด วัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อช่วยเหลือทุนการศึกษาเด็ก/
               เยาวชนบางกะดีให้จบปริญญาตรี และช่วยวาตภัย อัคคีภัย



                                                         218
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264