Page 160 - kpiebook62009
P. 160
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
4.1.2 การปรับข้อคำถาม เป็นการปรับข้อคำถามให้มีความกระชับ ไม่ซ้ำซ้อน และง่ายต่อ
การตอบคำถาม ตลอดจนให้มีลักษณะที่มีความเฉพาะของแต่ละประเภทรางวัลมากขึ้น
4.2 การพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนนโดยปรับให้สัดส่วนค่าน้ำหนักในแต่ละหมวดของประเภทรางวัล
เกณฑ์การให้คะแนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้ในขั้นประเมินผลผ่านตัวชี้วัด
ขั้นพื้นฐาน โดยมีการกำหนดสัดส่วนคะแนนของแต่ละหมวด ทั้ง 3 ประเภทรางวัล โดยมีเกณฑ์พิจารณา
สัดส่วนค่าน้ำหนักคะแนนของแต่ละหมวด ดังนี้
1. การกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักของคะแนนในแต่ละหมวด พิจารณาจาก หมวดที่มีลักษณะ
ตรงตามประเภทรางวัลโดยตรง มีค่าน้ำหนักของคะแนนสูง
2. การกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักของคะแนนในแต่ละหมวด พิจารณาจาก ข้อคำถามในแต่ละ
หมวดที่มีลักษณะระบุถึง กระบวนการ/วิธีการ หรือ มีการระบุกิจกรรม/โครงการที่มีความสอดคล้องกับ
ประเภทรางวัล มีค่าน้ำหนักของคะแนนสูง
ดังนั้น แต่ละประเภทรางวัลมีการกำหนดค่าน้ำหนักของคะแนน ดังต่อไปนี้
ประเภทที่ 1 รางวัลที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน กำหนดสัดส่วนคะแนนของแต่ละหมวด (ดังตาราง)
หมวดที่ สัดส่วนคะแนน
(ร้อยละ)
(1) การจัดทำแผนและการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น 10
(2) การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะ แบ่งออกเป็น
2.1 การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 20
2.2 การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ 10
(3) การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น 15
(4) กิจการสภา 10
(5) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ 15
(6) การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน แบ่งออกเป็น 20
6.1 การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน กลุ่ม องค์กร
6.2 การเสริมสร้างสำนึกพลเมือง (Civic Education)
(7) โครงการ/กิจกรรมที่โดดเด่นเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วม **หมวดนี้ไม่นับ
ของประชาชน รวมเป็นคะแนน
119