Page 37 - kpiebook62005
P. 37

เปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนและท้องถิ่น อันเป็นการสร้างการเรียนรู้จากภายในเพื่อสร้างคนที่มีระบบคิดที่มีเหตุผล

               และพึ่งตนเองได้ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   3.2) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี โดยน าเทคโนโลยีและนวัตกรรม

               สมัยใหม่มาใช้ในการสร้างความเลิศทางด้านบริการทางการแพทย์และสุขภาพแบบครบวงจรและทันสมัย ที่รวมไป

               ถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการให้ค าปรึกษา วินิจฉัย และพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า การพัฒนาระบบการ

               ดูแลสุขภาพทางไกลให้มีความหลากหลาย เข้าถึงง่าย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความ

               เชี่ยวชาญในพื้นที่ห่างไกล มีการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับอินเทอร์เน็ต ทางด้านสุขภาพ และจัดให้มีระบบการเก็บ

               ข้อมูลสุขภาพของประชาชนตลอดช่วงชีวิตให้มีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืนทางการคลัง รวมถึงการ


               ปฏิรูประบบการเก็บภาษีและรายจ่ายเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ ตลอดจนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพใน

               การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรม และยั่งยืน



               3.1.3   การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

                       นโยบายที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีความข้องเกี่ยวกับการเปิดเผย

               ข้อมูลและข่าวสาร มีดังนี้

               สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก

                   1)  สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และผลกระทบต่อประเทศไทย มนุษย์จะสามารถเข้าถึงข้อมูล

               และองค์ความรู้ได้อย่างไร้ขีดจ ากัด การพัฒนาเทคโนโลยีจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อินเทอร์เน็ต

               กลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของทุกคน เนื่องจากการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารประสิทธิภาพสูงที่สามารถบรรจุ รับ

               ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลได้อย่างมหาศาล โดยคาดว่าในปี 2025 ประชากรโลกประมาณ 2-3 พันล้านคนจะ

               สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ท าให้ผู้บริโภคมีความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย

               และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มบุคคลที่มีความชอบคล้ายคลึงกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้

               บุคคลมีความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้น (Individualism) ความต้องการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของกันและกันจะลดลง

                   2)  การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ โดยให้ชุมชนเป็นแหล่งบ่มเพาะ


               จิตส านึกการมีสุขภาพดีของประชาชน  ผ่านการจัดการความรู้ด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้มีการ
               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างสุขภาวะที่พึงประสงค์ระหว่างกัน โดยรัฐจะท าหน้าที่เป็นผู้อานวยความสะดวกที่ส าคัญ








                                                             -25-
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42