Page 71 - kpi9942
P. 71
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
ประการที่หนึ่ง ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของ
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ โดย
เฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลที่อาจจะนำไปพิจารณาและนำไปปรับใช้ ทั้งนี้เพราะบริบททั้งภายใน
และภายนอกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งแต่ละพื้นที่นั้น มีเงื่อนไขของความสำเร็จที่
แตกต่างกัน ดังนั้นประสบการณ์จากการประสบความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ จะนำไปใช้ได้ทั้งหมด
ประการที่สอง จากกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วแสดงให้เห็นว่านโยบายการ
ส่งเสริมการกระจายอำนาจและการปกครองปกครองท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมของรัฐบาลกลางจะมี
ส่วนทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความชัดเจนและกระตือรือร้นมากขึ้น ที่จะทำหน้าที่ของ
ตนเองอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานที่ได้รับการถ่ายโอนมาจากราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค
ประการที่สาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่ยังสั่งสมประสบการณ์ในการ
ทำงานน้อยมาก อาจจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยเพิ่งเริ่มดำเนินการเรื่องการปกครองท้องถิ่นอย่าง
จริงจัง เมื่อหลังปี 2540 ที่ผ่านมานี้เอง ดังนั้นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพยายามใน
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับส่วนราชการส่วนภูมิภาค และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ในการขอ
ความช่วยเหลือทางวิชาการ ก็จะทำให้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มากขึ้น ทั้งนี้เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งมีความพร้อมด้านงบประมาณอยู่แล้ว
ประการที่สี่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อน เพื่อจัดทำ
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตนเอง ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาจากทุนที่ตนเองมีอยู่ในพื้นที่ เช่น
ทุนเศรษฐกิจ ทุนงบประมาณ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และทุนทางกายภาพ ฯลฯ เป็นต้น โดยทุน
บางอย่างเป็นสิ่งที่เป็นข้อจำกัดในการทำงานของท้องถิ่น ในขณะที่ทุนบางอย่างเป็นการส่งเสริม
ความเข้มแข็งของท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า