Page 33 - kpi9942
P. 33
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
2) ทุนด้านงบประมาณ (Budgeting) องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีงบประมาณ
ในการบริหารงานระหว่างปีงบประมาณ 2541 – 2545 เฉลี่ยประมาณ 10 ล้านบาท ส่วน
ปีงบประมาณ 2546 มีงบประมาณประมาณ 20 ล้านบาท และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 – 2550
เฉลี่ยประมาณ 35 ล้านบาท จึงถือได้ว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีตัวเลขของงบประมาณ
ในการบริหารอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทั้งนี้ สัดส่วนรายรับโดยประมาณขององค์การบริหารส่วน
ตำบลดอนแก้ว มีดังนี้ 60% มาจากรายได้ที่รัฐบาลกลางจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ (Shared Tax) เช่น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิต ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ฯลฯ เป็นต้น
30% มาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง (ทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) ส่วน
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และ
ภาษีป้าย มีสัดส่วนแค่ประมาณ 5% เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีรายได้อื่นๆ เช่น รายได้จาก
สาธารณูปโภคและการพาณิชย์ รายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าใบอนุญาต รายได้จาก
ทรัพย์สิน รายได้เบ็ดเตล็ด ฯลฯ เป็นต้น อีกประมาณ 5%
3) ทุนมนุษย์ (Human Capital) องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว มีบุคลากรทั้งฝ่าย
การเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ ที่ทำงานรับใช้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ดอนแก้ว เกือบ 100 คน โดยมีรายละเอียด (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2551) ดังนี้
(1) ฝ่ายการเมือง มีจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 24 คน ประกอบด้วย
ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 1 คน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 1 คน
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 2 คน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว 20 คน
(2) ฝ่ายข้าราชการประจำ แบ่งเป็น 7 ส่วนราชการ มีจำนวนบุคลากรทั้งหมด
จำนวน 63 คน ประกอบด้วย
สำนักงานปลัด อบต. มีบุคลากร จำนวน 18 คน
ส่วนการคลัง มีบุคลากร จำนวน 10 คน
2
สถาบันพระปกเกล้า