Page 155 - kpi9942
P. 155
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
และสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สำคัญประการหนึ่งต่อเนื่องมาถึงแผน
พัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง การที่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของเมืองหรือชนบทรวม
ตัวกันเป็น “องค์กรชุมชน” โดยมีการเรียนรู้ การจัดการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนแล้ว
ถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ
สิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเรียก
ชุมชนนี้ว่า กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่น ๆ ที่มีความหมายแสดง
ถึงการร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และด้วยความเอื้ออาทรต่อชุมชนอื่น ๆ ใน
สังคมด้วย
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอาศัยอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนโดยในแต่ละชุมชนจะมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่างๆ เช่นมิติทาง
ด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มิติทางด้านสังคม และมิติทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งใน
การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น อาจพัฒนาความเข้มแข็งได้เพียงบางมิติเท่านั้น เนื่องจาก
เงื่อนไขและกระบวนการที่นำไปสู่ความเข้มแข็งในแต่ละมิติของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจสำคัญ คือการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่
บทบาทหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่พึงกระทำคือ การกระตุ้น เสริมสร้างให้
ประชาชนสามารถนำศักยภาพที่ตนมีมาช่วยพัฒนาให้ชุมชนมีความแข็งแกร่ง โดยไม่ได้มองว่าเป็น
ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในชุมชน
ซึ่งความต้องการของประชาชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการดำรงชีวิต ถือได้ว่าเป็นความ
ต้องการอันดับต้นของประชาชนที่หน่วยงานภาครัฐในแต่ละระดับพึงให้ความสำคัญ องค์การบริหาร
ส่วนตำบลวังแสงจึงนำแนวคิดในการนำศักยภาพในการดำเนินงานด้านการก่อสร้างของประชาชน
มาใช้เพื่อพัฒนาชุมชน ผ่านกระบวนการ “แรงงานอาสา” ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นเจ้าของและ
มอบหมายภารกิจในการดูแลชุมชนของตนเองให้แก่ประชาชน เพื่อสร้างความรับผิดชอบและ
จิตสำนึกสาธารณะให้แก่ประชาชน อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในที่สุด
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดการสร้างแรงงานอาสาดังกล่าว เป็นแนวทางการบริหารโครงการที่มีความ
คิดริเริ่ม และนำกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน อีกทั้งยัง
นำไปสู่การสร้างความโปร่งใสให้ประชาชนได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้
150
สถาบันพระปกเกล้า