Page 246 - kpi23819
P. 246
245
อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ
สัญลักษณ์อนุสรณ์แห่งประชาธิปไตยในความหมายเช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต่างกันเพียง
สถานที่ตั้ง ที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะในจังหวัดแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลายแห่งเปิดตัวก่อน
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เช่น อนุสาวรีย์ที่มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญแห่งแรกในประเทศไทย จังหวัดสุรินทร์
(พ.ศ. 2477) ในปัจจุบันเหลืออนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญอยู่ 6 แห่ง ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ จังหวัด
ร้อยเอ็ด จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดบุรีรัมย์
ถนนอ�านวยสงคราม และสะพานเกษะโกมล
ชื่อถนน และสะพานนี้มีที่มาจากบรรดาบรรดาศักดิ์ และนามสกุลของ พันโทหลวงอ�านวยสงคราม
(ถม เกษะโกมล) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเสียสละชีวิตในเหตุการณ์กบฎบวรเดช ในฐานะผู้บังคับกองพัน
ทหารราบที่ 8 ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎรสายทหารบก ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ถนนพหลโยธิน
หรือเดิมคือ ถนนประชาธิปัตย์ ในระยะแรกสร้างราว พ.ศ. 2479 ถนนสายนี้มีความยาว 22 กิโลเมตร
โดยเริ่มตั้งแต่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – ดอนเมือง ก่อนจะตัดเพิ่มความยาว ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ราว พ.ศ. 2481 โดยขยายสายทางต่อจากดอนเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี
ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท ก�าแพงเพชร ตาก ล�าปาง พะเยา เชียงราย โดยสิ้นสุดที่ อ�าเภอแม่สาย ซึ่งจะสามารถ
เชื่อมต่อกับถนนสู่รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ได้ ถนนพหลโยธินมีความยาวรวมกว่า 994 กิโลเมตร โดยชื่อของ
ถนนนี้ตั้งเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
อนุสรณ์สถาน และพิพิธภัณฑ์ 14 ตุลา
สถานที่ร�าลึกถึงวีรชนในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว อนุสรณ์
สถานนี้เน้นความสงบนิ่ง โล่งกว้าง และเรียบง่าย เพื่อร�าลึกและคารวะต่อวีรชน มีประติมากรรม หรือสถูปวีรชน
ร�าลึกอยู่ตรงจุดใจกลาง ประกอบด้วยฐานทรงสี่เหลี่ยมสูง 5 เมตร ทั้งสี่ด้านบุด้วยกระเบื้องดินเผาเนื้อแกร่ง
สลักรายชื่อวีรชน 14 ตุลา และรายล้อมด้วยแผ่นอิฐสลักบทกวีที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเสรีภาพ ความเสียสละ เด็กและ
ผู้หญิง กรรมกรและชาวนา นอกจากนั้นยังจัดท�าแผ่นอิฐแกะลายจากแบบถ่ายหรือภาพศิลปะจากการสร้างสรรค์
ของศิลปิน เพื่อสื่อถึงการเจริญเติบโตงอกงามของสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ช่วงกลางสถูปปลายสอบเข้า
ยาว 7 เมตร และยอดแหลมทรงสถูปสีทองสูง 2 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 14 เมตร ปลายแหลมของยอดสถูป
แสดงถึงจิตวิญญาณสูงส่งของมวลมนุษย์ ส่วนปลายยอดสถูปมีรอยหยักคล้ายสร้างไม่ส�าเร็จ เพื่อสื่อความหมาย
ว่าภารกิจการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังไม่สิ้นสุด ยอดปลายสถูปท�าด้วยวัสดุโปร่งแสดงเพื่อให้เห็นแสงไฟที่ส่อง
ออกมาจากภายในตัวสถูป แฝงนัยถึงไฟแห่งประชาธิปไตยที่เป็นอมตะ นอกจากนี้อาคารของอนุสรณ์สถาน
ยังมีสวนหย่อม ลานกิจกรรมส�าหรับการอภิปราย ชมดนตรี และการแสดงกลางแจ้ง มีส่วนที่เป็นห้องประชุม
ห้องหนังสือ และมีโครงการที่จะพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อไปในอนาคต
inside_ A4- .indd 245 11/11/2566 9:16:14