Page 159 - kpi23788
P. 159
ภาพที่ 2.8 กราฟจุดความร้อนสะสมย้อนหลัง 7 ปี (ปี 2560-2566) จากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS
ในพื้นที่ 17 จังหวัด
2.2 การติดตามจุดความร้อนจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS
2.2.1 จุดความร้อนสะสมทั้งประเทศ
การติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi
NPP ระบบ VIIRS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2566 พบจุดความร้อนสะสมทั้งสิ้น 168,468
จุด โดยพบมากในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (70,571 จุด) ป่าสงวนแห่งชาติ (51,004 จุด) รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตร
(22,177 จุด) พื้นที่เขต ส.ป.ก. (12,164 จุด) พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ (11,467 จุด) และพื้นที่ริมทางหลวง (1,085
จุด) ซึ่งจังหวัดที่มีจำนวนจุดความร้อนสะสมมากสุด ได้แก่ กาญจนบุรี (13,122) เชียงใหม่ (13,094 จุด) น่าน
(11,632 จุด) แม่ฮ่องสอน (11,522 จุด) และตาก (10,337 จุด) ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 2.6 และภาพที่
2.9 ทั้งนี้ จุดความร้อนจำแนกตามข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Existing land use) ของกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2558
และ 2559 แสดงในตารางภาคผนวก ก-2
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 30
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.