Page 120 - kpi23788
P. 120

คำนำ




                       สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

               ปี 2566” 7 ข้อ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 เน้นแนวทางการดำเนินงาน 7 แนวทาง ภายใต้กรอบ “สื่อสารเชิง
               รุก ยกระดับปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วม” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่น
               ละอองโดยเฉพาะในช่วงเกิดสถานการณ์ ซึ่งแผนเฉพาะกิจฯ ปี 2566 นี้เป็นผลมาจากการถอดบทเรียนการ

               ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2565 โดยปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติให้
               เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกระดับความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ส่งเสริมให้ทุกภาค

               ส่วนที่เกี่ยวข้องและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น
               ละออง นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

                       สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ. มีวิสัยทัศน์ในการนำ
               คุณค่าจากอวกาศและภูมิสารสนเทศสู่สังคม มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้

               เป็นความรู้ไร้พรมแดนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
               สำหรับการบริหารจัดการด้านไฟป่าและหมอกควัน ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนมกราคมถึง
               พฤษภาคมของทุกปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกิดหมอกควัน

               ปกคลุมโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยปี 2566 สทอภ. ได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์ไฟ
               ป่าและหมอกควันในภาพรวมทั้งประเทศ และเน้นให้ความสำคัญในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ด้วยการนำ

               ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ MODIS ร่วมกับดาวเทียมระบบ VIIRS ติดตามตำแหน่งจุดความร้อน (hotspot)
               ระบุตำแหน่งเข้าถึงพื้นที่เพื่อดับไฟก่อนจะลุกลามเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพระบบการ
               รายงานข้อมูลที่สำคัญ ประกอบด้วย ข้อมูลจุดความร้อนรายช่วงเวลา รายวัน รายสัปดาห์ พื้นที่เผาไหม้ราย

               16 วัน และแบบจำลองคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าล่วงหน้า 7 วัน ในรูปแบบภาพแผนที่ (Map) ภาพ
               แผนภูมิ (Graph) ตาราง (Excel) ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Shapefile) และรายงานสรุปสถานการณ์จุด

               ความร้อนในลักษณะ Dashboard จากดาวเทียมระบบ VIIRS รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบ
               บริหารจัดการเชื้อเพลิงในที่โล่ง หรือ Burn Check เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้กับหน่วยงานภาครัฐ และ
               ประชาชน ลดการเผา ลดมลภาวะทางอากาศ ยกระดับการบูรณาการข้อมูลบริหารจัดการไฟป่า หมอกควัน

               และฝุ่นละอองขนาดเล็ก อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

                       สทอภ. ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีอวกาศและ
               ภูมิสารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการไฟป่าและหมอกควันเชิงพื้นที่ รวมทั้งการให้ข้อแนะนำและข้อคิดเห็น
               จากผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้ หากสนใจ

               ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสืบค้นได้ที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภัยพิบัติ หรือ
               https://disaster.gistda.or.th



                                                                                คณะผู้จัดทำ

                                                                                ตุลาคม 2566
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125