Page 218 - 22825_Fulltext
P. 218
5-21
5.4 ผลการคำนวณค่าดัชนี P3 การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพ
สิทธิมนุษยชน
ด้าน P3 การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งมี
ทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด อันประกอบไปด้วย มุมมองต่อการยอมรับให้บุคคลที่มีลักษณะแตกต่างจากคน
ทั่วไปมีบทบาททางสังคมและการเมือง มุมมองต่อการเลือกปฏิบัติในการใช้บริการภาครัฐ มุมมองต่อ
เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง มุมมองต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน มุมมองด้านพหุวัฒนธรรม
และจำนวนผู้ถูกกักขังที่รอการพิพากษาในสัดส่วนของประชากรในเรือนจำ เพื่อแสดงแนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีสันติภาพในสังคมไทย ด้าน P3.การยอมรับความหลากหลาย/การไม่
เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน ระหว่าง พ.ศ. 2560 กับ 2564 ของระดับรายจังหวัดทั้ง 77
จังหวัด พบว่า จังหวัดที่อยู่ในกลุ่มระดับสันติภาพสูงที่สุดได้แก่ 1. จังหวัดกระบี่ 2. จังหวัดยะลา
3. จังหวัดนราธิวาส 4. จังหวัดปราจีนบุรี 5. จังหวัดชุมพร 6. จังหวัดเลย เมื่อดูระดับภูมิภาคจะเห็นว่า
พื้นที่ภาคใต้จะมีระดับสันติภาพด้านการยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิ
มนุษยชน สูงกว่าพื้นที่ รายละเอียดตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 5.14
ตารางที่ 5.14 ระดับสันติภาพด้านการยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิ
มนุษยชนรายจังหวัดปี พ.ศ. 2564
ระดับสี ระดับสันติภาพ จังหวัด
เขียวเข้ม สันติภาพมีค่าสูงสุด กระบี่ ยะลา นราธิวาส ปราจีนบุรี ชุมพร เลย
เขียวอ่อน สันติภาพมีค่าสูง ตรัง ภูเก็ต บุรีรัมย์ ตาก ระนอง อุตรดิตถ์ นครนายก อุดรธานี บึงกาฬ
มุกดาหาร นครปฐม แพร่ พังงา กรุงเทพมหานคร
เหลือง สันติภาพปานกลาง เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ตราด ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร
ขอนแก่น อำนาจเจริญ มหาสารคาม ลำพูน สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี
ศรีสะเกษ ชลบุรี สกลนคร นครสวรรค์ ราชบุรี สมุทรปราการ พิจิตร
พิษณุโลก กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา
ส้ม สันติภาพมีค่าต่ำ ชัยภูมิ สุโขทัย พะเยา เชียงราย สตูล สมุทรสาคร หนองบัวลำภู สุรินทร์ ร้อยเอ็ด
เพชรบูรณ์ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ นนทบุรี อุทัยธานี แม่ฮ่องสอน พัทลุง ระยอง
เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ลำปาง สงขลา สระบุรี
แดง สันติภาพมีค่าต่ำสุด กาญจนบุรี ปัตตานี นครพนม สระแก้ว อ่างทอง หนองคาย นครราชสีมา
สมุทรสงคราม