Page 86 - kpi22408
P. 86

ความรู้เบื้องต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  85



                การเลือกตั้งผู้แทนเพื่อทำาหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารทั้งใน
                ระดับชาติและระดับท้องถิ่น

                        ในบทที่ว่าด้วยบทบาทและสถานะของพระมหากษัตริย์

                ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการอธิบาย
                เพื่อทำาความเข้าใจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุข

                แห่งรัฐของประเทศไทย ผ่านบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติเรื่อง
                พระราชสถานะและพระราชอำานาจไว้อย่างชัดเจน โดยเมื่อพิจารณาจาก
                บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                ที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันแล้ว จะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในฐานะที่
                ทรงเป็นประมุขของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นมีพระราชสถานะ ได้แก่

                ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงเป็น
                พุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นจอมทัพไทย นอกจากนี้
                พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐยังทรงมีพระราชอำานาจใน

                ส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และ
                พระราชอำานาจเฉพาะ ได้แก่ การสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทาน

                เครื่องราชอิสริยาภรณ์ การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการในพระองค์
                การแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ การสืบราชสันตติวงศ์
                การแต่งตั้งองค์มนตรี และการพระราชทานอภัยโทษ


                        นอกจากนี้ ในบทที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์
                กับประชาชนในบริบทไทย ยังได้ชี้เพิ่มเติมให้เห็นว่าการมีพระมหากษัตริย์

                ดำารงตำาแหน่งเป็นประมุขของประเทศไทยนั้น มีความเป็นมาทาง
                ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทำาให้การพิจารณาถึงสถานะและบทบาทของ








                                                                     7/2/2565 BE   16:08
         inside_�������������.indd   85
         inside_�������������.indd   85                              7/2/2565 BE   16:08
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91