Page 252 - 22221_Fulltext
P. 252
2 1
๏ องค์การบริหารส่วนตำบลร่องเคาะ หน้าที่ในการประสานงาน ติดตามและสนับสนุน
กระบวนการเรียนรู้ให้แก่เครือข่าย ให้สามารถดำเนินการพัฒนารูปแบบและแนวทางเพื่อ
รณรงค์การคัดแยกขยะที่ต้นทางได้
๏ ท้องที่ (ทั้ง 17 หมู่บ้าน) ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ขับเคลื่อนกระบวนการ
ดำเนินงานการคัดแยกขยะต้นทาง/สรรหาให้มีครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะต้นทางของ
แต่ละหมู่บ้าน และร่วมกิจกรรมรณรงค์ด้านการคัดแยกขยะต้นทางกับทาง อบต.
๏ ภาครัฐ สถานศึกษาในพื้นที่ (จำนวน 7 แห่ง) ประกอบด้วย 5 โรงเรียน และ
2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานีตำรวจภูธรร่องเคาะ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่องเคาะ
(จำนวน 3 แห่ง) ประกอบด้วย รพ.สต. ตำบลร่องเคาะ รพ.สต. บ้านดอนแก้ว และ รพ.สต.
บ้านวังใหม่ ให้การสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการด้านการจัดการขยะ/ร่วมสร้างงานประดิษฐ์
หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ/รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจใน
การจัดการขยะอย่างถูกวิธี/จัดถังขยะให้เหมาะสม พร้อมการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และนำส่ง
ขยะให้ อบต.ร่องเคาะ ในการรับชั่งขยะทุกเดือน
๏ ภาคเอกชน ร้านบังอรค้าของเก่า ร้านรับซื้อของเก่าบ้านทุ่งฝูง ร้านรับซื้อของเก่า
บ้านจำตอง ร่วมขับเคลื่อนการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ตลอดจนเข้ามารับซื้อขยะที่คัดแยกจาก
ครัวเรือน
๏ ภาคประชาชน/ประชาสังคม ประกอบด้วย ชมรมคนพิการ/กลุ่มผู้สูงอายุ/
สภาเด็กและเยาวชน/ครัวเรือนต้นแบบ ดำเนินการจัดการขยะในพื้นที่ ผ่านกิจกรรมการ
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานเครือข่ายของโครงการ/สร้าง
นวัตกรรมการจัดการขยะของกลุ่ม อย่างน้อย 1 อย่าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการ
ขยะในพื้นที่ องค์กรศาสนา (เจ้าคณะตำบลร่องเคาะ เขต 1 และเจ้าคณะตำบลร่องเคาะ
เขต 2) ได้ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานเครือข่าย และมี
วัดที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประกวดวัดต้นแบบการจัดการขยะจากต้นทาง
ตามเกณฑ์การประเมินส่วนราชการต้นแบบการจัดการขยะจากต้นทาง ของ อบต.ร่องเคาะ
ไม่น้อยกว่า 7 วัด และกำหนดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะจากต้นทาง (จำนวน 1 วัด ต่อเขต
การปกครองของคณะสงฆ์)
๏ ภาคีร่วมสนับสนุน ประกอบด้วย หน่วยป้องกันและรักษาป่าลำปาง ที่ 11
หน่วยอุทยานแจ้ซ้อน (แม่อ้อ) ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาทรัพยากรจากป่าและ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64