Page 194 - 22221_Fulltext
P. 194
1
๏ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยอง สำรวจเส้นทางน้ำ และลำคลองในเขต
ความรับผิดชอบ และโครงการก่อสร้างผนังกั้นน้ำคลองทับมา
๏ สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระยอง ประชาสัมพันธ์สภาพอากาศในพื้นที่ และ
เฝ้าเตือนระวังก่อนเกิดภัย
๏ การนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง สถานีสูบน้ำคลองหนองโพรง – คลองน้ำหู
และสถานีสูบน้ำซอยแหลมมะขาม 2/1
ขั้นตอนที่ 2 ระหว่างเกิดสาธารณภัย (อุทกภัย) จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัย เพื่อควบคุม ดูแล สั่งการ ระดมทรัพยากร ทั้งกำลังพล วัสดุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ที่สนับสนุนในการปฏิบัติงาน การควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้ลุกลามขยายตัว รวมถึง
การอพยพ การดูแลรักษาพยาบาล จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และประกาศยกเลิก
สถานการการณ์หลังจากกลับสู่สภาวะปกติ
สนับสนุนยานพาหนะ และกำลังพลช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายอพยพ ได้แก่
๏ กองพันทหารราบที่ 6
๏ กองพันทหารราบที่ 7 (ค่ายมหาสุรสิงหนาท) จ.ระยอง
๏ มณฑลทหารบก ที่ 14
๏ กรมทหารราบ ที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
๏ กลุ่มเครือข่ายออฟโรด สนับสนุนยานพาหนะออฟโรด ช่วยเหลือประชาชน
ในการขนย้ายอพยพ
๏ แขวงการทางระยอง สนับสนุนยานพาหนะ และกำลังพลช่วยเหลือประชาชนขน
ย้ายอพยพ
๏ สถานประกอบการในพื้นที่ เช่น บริษัท สยามแม็คโครระยอง จำกัด บริษัท
โกลบอลเฮ้าส์ ระยอง จำกัด ฯลฯ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ กระสอบทราย ทราย อาหาร
เครื่องดื่ม สถานที่รองรับการช่วยเหลือผู้อพยพ
ขั้นตอนที่ 3 หลังเกิดสาธารณภัย (อุทกภัย) สำรวจความเสียหายที่เกิดจากภัย
ทั้งด้านที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ และสิ่งสาธารณประโยชน์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ
ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ประสานงานเครือข่าย เพื่อมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู
สิ่งสาธารณะประโยชน์ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อร่วมกันทำความสะอาด กวาดล้างถนน
ที่พักอาศัยของประชาชนให้กลับสู่สภาวะปกติ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64