Page 165 - 22221_Fulltext
P. 165

1






























                         การบริหารจัดการกระบวนการมีส่วนร่วมบูรณาการเครือข่าย MOU

                     เนื่องจากน้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นเทศบาลตำบลท่าคันโทจึงต้องมี
               การบริหารจัดการน้ำที่ดี เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอ สะอาด และปลอดภัย ประชาชนจึงจะมีความสุข
               ความโดดเด่นของโครงการ คือ


                     1. การจัดสร้างที่กักเก็บน้ำดิบให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำทั้งปี ให้เพียงพอ
               ต่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร การประมง การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม เทศบาล
               ตำบลท่าคันโทได้ขุดคันคูฝายกั้นน้ำ เป็นระยะทาง 5 กม. เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดพื้นที่
               1,400 ไร่   ทำให้สามารถจุน้ำได้ 5,600,000 ลูกบาศก์เมตร ที่ความลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร

               ซึ่งต้องใช้งบประมาณหลายล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างหลายปี

                     2. การเฝ้าระวังและจัดการแหล่งน้ำดิบ แหล่งน้ำธรรมชาติ การสร้างความเข้าใจของ
               ภาคีเครือข่าย ทั้ง 14 เครือข่าย และให้ทุกคนมีความตระหนัก รับผิดชอบในการเฝ้าระวัง

               คุณภาพน้ำและจัดการแหล่งน้ำดิบร่วมกัน ให้พอใช้ตลอดทั้งปี โดยการทำบันทึกข้อตกลง
               MOU

                     3. การออกประกาศข้อห้ามในการทำประมง การเกษตร การอุตสาหกรรม และ
               การป้องกันไม่ให้สารพิษหรือสิ่งเจือปน ไหลลงสู่แหล่งน้ำ โดย มีเครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวัง

               คุณภาพน้ำในทุกชุมชนเป็นผู้ประสานงานแจ้งข่าว






             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170