Page 47 - 21975_fulltext
P. 47
ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆ และความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2563
และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ. 2545-2563
3.2.2 ความถี่ในการติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ
สำหรับประชาชนที่ติดตามข่าวสารทางการเมือง ได้ระบุความถี่ในการติดตาม
จากสื่อต่าง ๆ ดังนี้
1) หนังสือพิมพ์
เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับความถี่ในการติดตามข่าวสารทางการเมือง
จากสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า ร้อยละ 19.3 ติดตามทุกวัน ร้อยละ 49.8 ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน
ร้อยละ 18.7 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 11.9 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 0.3
ไม่ได้ติดตามเลย สำหรับหนังสือพิมพ์ที่ประชาชนติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุดคือ
ไทยรัฐ ร้อยละ 73.9 รองลงมา เดลินิวส์ ร้อยละ 15.7
2) วิทยุทั่วไป
การติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อวิทยุทั่วไป พบว่า ร้อยละ 25.0
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 46.7 ติดตาม สัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 12.9 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
และร้อยละ 14.2 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 1.2 ไม่ได้ติดตามเลย สำหรับสถานีวิทยุ
ที่มีผู้ติดตามข่าวสารทางการเมืองมากที่สุดคือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ร้อยละ 39.7 รองลงมา สถานีวิทยุของ อสมท. ร้อยละ 21.4
3) วิทยุชุมชน
ส่วนการติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อวิทยุชุมชน พบว่า ร้อยละ 31.5
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 21.6 ผู้ติดตามสัปดาห์ละ 2–3 วัน ร้อยละ 6.0 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
ร้อยละ 37.9 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 3.0 ไม่ได้ติดตาม
4) โทรทัศน์ (ฟรีทีวี)
สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อโทรทัศน์ (ฟรีทีวี) พบว่า
ร้อยละ 33.1 ระบุว่าติดตามทุกวัน ร้อยละ 41.5 ติดตามสัปดาห์ละ 2–3 วัน ร้อยละ 12.0
ติดตามสัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 12.3 แทบจะไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 1.1 ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่มีผู้ติดตามข่าวสารการเมืองมากที่สุด คือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ร้อยละ
35.8 รองลงมา สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 ร้อยละ 30.5
5) เคเบิ้ลทีวี
การติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อเคเบิ้ลทีวี พบว่า ร้อยละ 34.5
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 41.8 ติดตามสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน ร้อยละ 10.8 ติดตามสัปดาห์ละครั้ง
สถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลระดับภาค และทั่วราชอาณาจักร