Page 115 - kpi21365
P. 115
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้น าแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนย่อย เป้าหมายย่อยของแผน แนวทางการ
พัฒนา มาจัดท ากรอบแนวคิดในการวิเคราะห์เพื่อติดตามการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของกรมฯ ซึ่ง
เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้
5. นโยบายและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้น้อมน าหลัก “ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาน าทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 9-11 โดยการจัดท าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ครั้งนี้ ส านักคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้จัดท าบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :
SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ
นอกจากนั้นได้ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันก าหนดวิสัยทัศน์และทิศ
ทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดท ารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่งคง มั่งคั่ง และ
ยั่งยืน”
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไว้
ทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ โดยมียุทธศาสตร์ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัย
สนับสนุน ดังนี้ 1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลด
ความเหลื่อมล้ าในสังคม 3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4.
ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคง
แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน 6. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการ
ทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิ
สติกส์ 8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม 9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง
และพื้นที่เศรษฐกิจ และ10. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
ในส่วนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านที่ 6 คือ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยตรงก็คือ “ยุทธศาสตร์การบริหาร
จัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
96
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ