Page 160 - 21211_fulltext
P. 160
ในบทนี้ ขอเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาท้องถิ่น จากการ
ลงพื้นที่ภาคสนามของทีมวิจัย เพื่อเข้าใจบริบทเฉพาะของท้องถิ่น
จำแนกออกเป็น 3 กรณีศึกษาดังนี้
1) กรณีที่หนึ่ง การควบรวมระหว่างเทศบาลตำบลวังน้ำเย็นและ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการควบ
รวมในปี พ.ศ. 2553
2) กรณีที่สอง เทศบาลวังเหนือและองค์การบริหารส่วนตำบล
วังเหนือ จังหวัดลำปาง ดำเนินการควบรวมในปี พ.ศ. 2560
3) กรณีที่สาม กรณีเทศบาลตำบลขามใหญ่ เทศบาลตำบลปทุม
และองค์การบริหารส่วนตำบลไร่น้อย จังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งแสดงเจตจำนงต้องการควบรวมเข้าด้วยกัน เริ่มดำเนินการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยแจ้งความประสงค์กับนายอำเภอ และดำเนินการ
ตามระเบียบการควบรวม (ปี 2547) ขั้นตอนสำคัญคือ การให้ประชาชน
แสดงเจตนารมณ์ โดยการลงคะแนนเสียง (ซึ่งดำเนินการในมีนาคม
2561) ผลลงคะแนนสรุปได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นพ้องกับการควบ
รวม ซึ่งหน่วยงานทั้งสามได้นำผลสรุปเสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น เพื่อให้รัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย เห็นชอบและประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาในขั้นตอนต่อไป
เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ประกอบด้วย
1) อธิบายความเป็นมาของการควบรวมท้องถิ่นและเหตุผลของ
แต่ละพื้นที่
2) ขั้นตอนการดำเนินการ ตั้งแต่การปรึกษาหารือร่วมกัน การนำ
วาระสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่น การเสนอเรื่องเจตนารมณ์ควบรวม
ต่อนายอำเภอ ซึ่งมีหน้าที่กำกับท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์ และ
การนัดหมายให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์
3) การวิเคราะห์ความสำเร็จและบทเรียนโดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร
และเกี่ยวข้องกับกระบวนการ
สถาบันพระปกเกล้า 12