Page 115 - kpi21196
P. 115
ในส่วนที่สี่นี้ คือ จะขอกล่าวถึงตัวอย่างของต้นแบบ “พลเมือง
ยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง” องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งที่เข้าร่วม
โครงการก็ได้นำหลักคิดและแนวทางของโครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชน
ไร้ถัง ไปพัฒนากลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานตามบริบทของท้องถิ่น
ตนเอง จนสามารถลดปริมาณขยะ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
ขยะลงได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนใน
ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะท้องถิ่น มีจิตสาธารณะ
และคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม โดยจะขอยกตัวอย่างหน่วยงานที่ถือว่าเป็น
“ต้นแบบ” ของโครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง 7 แห่ง โดยเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง และโรงเรียนอีก 1 แห่ง ประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าหลวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เทศบาลตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
โรงเรียนอนุบาลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 แห่งนี้มีเกณฑ์ร่วมกัน
7 ประการ คือ 1) มีชุมชนและหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) ปริมาณขยะลดลง 3) ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะลดลง
4) ปริมาณถังขยะในพื้นที่ลดลง มีการส่งคืนถังขยะให้กับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 5) ภายในพื้นที่มีชุมชนไร้ถังต้นแบบ 6) องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานอื่นๆ เป็นแหล่งศึกษา
ดูงาน และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้
7) มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ส่วนโรงเรียนอนุบาลทับสะแก ได้นำแนวคิดชุมชนไร้ถังไปดำเนินการ
จนประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบให้กับชุมชนและท้องถิ่นทั้งในจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์และภายนอกเข้ามาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก