Page 3 - kpi21190
P. 3
3
คำนำ
ระยะเวลา 88 ปีบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบ
ประชาธิปไตย ประเทศไทยมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษา
ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นและยั่งยืนเพื่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพและ
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และกฎหมายต่าง ๆ เพื่อสร้างให้สังคมประเทศเกิดความเท่าเทียม
และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของประชาชนที่ยังไม่ได้รับสิทธิและ
ความเป็นธรรมให้มีโอกาสได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และทรัพยากร
ในประเทศได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น การปรับโครงสร้างอำนาจรัฐ สร้างเสริม
การเมืองภาคพลเมืองให้เข้มแข็งด้วยการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
ขณะเดียวกันสถานการณ์ของโลกก็กำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ
ที่นับว่าเป็นความท้าทายต่อวิถีของประชาธิปไตย เนื่องจากความเหลื่อมล้ำ
ที่สูงขึ้นทำให้กลุ่มอำนาจทางการเมืองปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มของตนเอง
และทำให้เกิดผลเสียต่อความเป็นประชาธิปไตย จนนำมาซึ่งแรงต้านจากประชาชน
เนื่องจากความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง อีกนัยยะหนึ่งประชาธิปไตยที่ไม่มีคุณภาพก็ได้ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น
เช่นเดียวกัน เช่น ความไม่เป็นธรรมจากกฎหมาย นโยบายของรัฐ และกลไกการบริหาร
ประเทศจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย
อีกวาระหนึ่ง สถาบันพระปกเกล้าในฐานะสถาบันวิชาการด้านการเมืองการปกครองของประเทศ
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำประสบการณ์ของประเทศไทยและนานาชาติ
มาทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อเสนอแนะที่ได้มาคิดหาทางออกร่วมกัน
ในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพในอนาคต จึงได้
กำหนดให้มีการประชุมวิชาการประจำปีในครั้งนี้ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
สร้างคุณภาพประชาธิปไตย” (Bridging the Inequality Gap and Nurturing Quality of
Democracy) และเอกสารสรุปการประชุมวิชาการฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง
ทางวิชาการ ซึ่งได้รวบรวมคำปาฐกถา คำอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิ บทความวิชาการที่ได้รับ
การคัดเลือก ตลอดจนบทสรุปการประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 5 ประเด็น