Page 290 - kpi20858
P. 290
247
ภาพที่ 21 จิตรกรรม “พระพุทธเจ้าผจญมาร” ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน ภายในพระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัด
ชุมพร โดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร
ที่มา: ผู้วิจัย
เมื่อกล่าวถึงต าแหน่งการวางฉากตอนพิเศษที่ผนังด้านหน้าพระประธาน (ภาพที่ 21) พบว่า
โดยปกติการสร้างจิตรกรรมตามขนบนิยมของไทย มักยึดเอาผนังด้านนี้แสดงฉากตอน พระ
พุทธเจ้าผจญมาร ถือได้ว่าพระยาอนุศาสน์ยังคงเนื้อหาในต าแหน่งดั้งเดิมตามขนบของไทย
เอาไว้ หากแต่เปลี่ยนรูปแบบในการน าเสนอแต่เพียงเท่านั้น ผนังพิเศษนี้ยังมีความส าคัญใน
ฐานะที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่าง เนื้อหาตามคติพราหมณ์และพุทธ อย่าง
กลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากพระแม่ธรณีมีปรากฏในคติพราหมณ์-ฮินดู เช่นกัน ในนาม
พระแม่ปฤถวี หรือพระแม่ภูมี การแสดงอาการของพระแม่ธรณีในท่านั่งประนมมือนั้นมีความ
สอดประสานไปกับรูปทรงของเหล่าเทพและเทวีองค์อื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ที่ด้านบนพระเศียร
ของพระแม่ธรณี บริเวณผนังตอนบน (7ก) ยังปรากฏการเขียนตัวอักษร “อิศวาสุ” (ภาพที่ 22) ที่
กึ่งกลางของผนัง อันมีที่มาจากบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และบทพระสังฆคุณ
ภาพที่ 22 พระยาอนุศาสน์ จิตรกร, สัญลักษณ์อิศวาสุที่ผนังตอนบน (ก) ด้านตรงข้ามพระประธาน จิตรกรรมฝา
ผนัง พระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร
ที่มา: ผู้วิจัย