Page 90 - kpi20542
P. 90
เครื่องมือทั้งสามนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินโครงการนวัตกรรมพื้นที่
ท้องถิ่น : “ทบทวน ท้าทาย” เพื่อการจัดบริการสาธารณะ
คนพิการมีความสุข โดยเทศบัญญัติทำหน้าที่เป็นระเบียบส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ผู้พิการ ส่วนกองทุนทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อผู้พิการ
ต่าง ๆ และมีชมรมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความต้องการระหว่างผู้พิการกับเทศบาล
กิจกรรมโครงการและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
ภาพที่ 1 การพื้นที่ลงดูแลกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน. จาก บ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยติดเตียง-
ผู้สูงอายุ ระดับโลก, โดย สำนักข่าวไทย, 2560,
กรณีศึกษา: ด้านคุณภาพชีวิต : เด็ก เยาวชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
สืบค้นจาก https://tna.mcot.net/view/594a7971e3f8e4d032374a3a
จากการสัมภาษณ์นางสาวอัจฉรา ละอองพราว และนางภัทธิดา สุวรรณโน (10 พฤษภาคม
2561) พบว่า โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1) การให้บริการทาง
การแพทย์ 2) การให้ความรู้เกี่ยวกับผู้พิการ 3) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ และ 4) การส่งเสริม
การใช้ชีวิตประจำวันของผู้พิการ โดยกิจกรรมแต่ละประเภทต่างก็มีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่
เทศบาลเข้ามาช่วยดำเนินการ ดังนี้
1. การให้บริการทางการแพทย์ ประกอบด้วย
1.1 ผู้ดูแลผู้พิการ (caregiver) เป็นกิจกรรมที่ให้อาสาสมัครที่ผ่านการอบรมทาง
การแพทย์ลงพื้นที่ไปให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้พิการถึงที่บ้านอาทิตย์ละ 3 วัน โดยมีเป้าหมาย
สถาบันพระปกเกล้า