Page 49 - kpi20542
P. 49
(3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
มีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ประกอบด้วย (3.1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งในด้าน
การคลัง และ (3.2) การเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต
และบริการ มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่มูลค่าระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม
บริการ และการค้าการลงทุน เพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยยกระดับ
การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม
ที่มีศักยภาพปัจจุบันเพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง วางอนาคตรากฐาน
การพัฒนาอุตสาหกรรม เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและอำนวยความสะดวกด้าน
การค้าการลงทุน
(4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีแนวทาง
การพัฒนาสำคัญ ประกอบด้วย (4.1) การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสมดุลของ
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม (4.2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมดุล และยั่งยืน (4.3) การแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม
(4.4) ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (4.5) สนับสนุนการลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(4.6) การบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ (4.7) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
และกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (4.8) การพัฒนา
ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
(5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความ
มั่งคั่งและยั่งยืน มีแนวทางการพัฒนาสำคัญ ประกอบด้วย (5.1) การรักษาความมั่นคงภายในเพื่อ
ให้เกิดความสงบในสังคมและธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ (5.2) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ
การป้องกันประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทั้งการทหารและภัยคุกคาม บทนำ
อื่น ๆ (5.3) การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านความมั่นคงเพื่อบูรณาการความร่วมมือ
กับมิตรประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติ (5.4)
การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและ
สิทธิอธิปไตยในเขตทะเล และ (5.5) การบริหารจัดการความมั่นคงเพื่อการพัฒนาเพื่อให้เกิด
ความสอดคล้องกันระหว่างแผนงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงการพัฒนาภายใต้การมีส่วนร่วมของ
ภาคประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า