Page 34 - kpi20542
P. 34

ทิศทางการจัดทำบริการสาธารณะของ
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                        นับจากวันนี้ไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงต้องพัฒนาการจัดทำบริการสาธารณะ

                  ให้ตอบโจทย์ปัญหา/ความต้องการ ตรงใจ และครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่ง
                  การจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในอนาคต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องคำนึง
                  ถึงสภาวการณ์ใหม่ ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และ

                  อื่น ๆ ที่เป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและประเทศ กล่าวได้ว่า กลายเป็นความ
                  ท้าทายใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผชิญในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน


                           สถานการณ์ระดับโลกที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงในการ

                  จัดทำบริการสาธารณะ
                          1) สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก มีตลาดเกิดใหม่ที่มีบทบาทสูงขึ้น ตลาด

                  การเงินโลกเข้าสู่สถานการณ์ไร้พรมแดน ซึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน
                  ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ รวมทั้งมีการรวมกลุ่ม

                  ทางเศรษฐกิจที่หลากหลายส่งผลต่อการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สำคัญของ
                  การพัฒนาประเทศไทย

                          2) การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เป็นกุญแจ

                  สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตของคน ทำให้เกิด
                  สาขาอุตสาหกรรมและบริการใหม่ ๆ ที่ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลากหลายสาขา

                  มนุษย์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด มีการแย่งชิงแรงงานที่มีทักษะ
                  ด้านเทคโนโลยีและมีทักษะหลายด้านในตลาดแรงงาน ขณะเดียวกันเกิดความเหลื่อมล้ำในมิติ
            บทนำ   ต่าง ๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นต้น


                          3) สถานการณ์และแนวโน้มสังคมโลก การเข้าสู่สังคมสูงวัยของโลกส่งผลต่อเศรษฐกิจ
                  และรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นกลุ่มสำคัญที่ทำให้

                  มีการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดการแย่งชิงประชากรวัยแรงงาน โดยเฉพาะ
                  คนที่มีศักยภาพสูง ขณะเดียวกันการเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกที่ผสมผสานกับวัฒนธรรม



                         7   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา
                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th. วันที่
                  23 สิงหาคม 2562.




                 2    สถาบันพระปกเกล้า
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39