Page 192 - kpi20470
P. 192
î การเก็บรวบรวมข้อมูล
รายงานสถานการณ์ ส่วนท้องถิ่น โดยการส่งแบบสอบถามให้กรอกข้อมูลแล้วตอบกลับมาทางช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ได้แก่
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ได้ขอความร่วมมือจากองค์กรปกครอง
ทางไปรษณีย์ ทางอีเมลล์ของผู้ประสานงาน หรือทางโทรสาร
î การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1). การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิง
ภาคผนวก พรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ของข้อมูลที่ได้รับตอบกลับมาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งหมด
2). การวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น จากข้อมูลส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3
ของแบบสอบถาม ซึ่งได้มีการกำหนดค่าคะแนนระดับความคิดเห็นของแต่ละข้อคำถาม ดังนี้
ระดับความคิดเห็น ค่าคะแนน
ไม่เห็นด้วย 1
เห็นด้วยน้อย 2
เห็นด้วยมาก 3
เห็นด้วยมากที่สุด 4
ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินและแปลความหมายระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นรายมิติ
จะใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับความคิดเห็นของข้อคำถามในแต่ละมิติ จากนั้นมานำเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
โดยแบ่งระดับเกณฑ์ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ค่าคะแนนเฉลี่ย
ระดับสูงมาก 3.41 – 4.00
ระดับสูง 2.81 – 3.40
ระดับปานกลาง 2.21 – 2.80
ระดับต่ำ 1.61 – 2.20
ระดับต่ำมาก 1.00 – 1.60
การวิเคราะห์ระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น จะวิเคราะห์ในภาพรวมของทุกมิติ รวมทั้งจำแนก
ตามตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่กำหนดตามกรอบการศึกษา โดยรายละเอียดกรอบการศึกษาปรากฎดังแผนภาพ
ต่อไปนี้
180 สถาบันพระปกเกล้า