Page 177 - kpi20470
P. 177

รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม

                                   ความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น



                                         การศึกษาวิจัยประเมินการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นประจำปี 2561 (decentralization
                                   report 2018) เป็นการสำรวจสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นของประเทศ
                                   ในปัจจุบัน โดยสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรที่เป็นตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                                   ทั่วประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินระดับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในมิติต่างๆ
                                                                                      25
                                   ซึ่งมีรายละเอียดของระเบียบวิธีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้
                                   î  กลุ่มประชากรเป้าหมาย


                                         สำหรับหน่วยในการสำรวจครั้งนี้ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน
                                   7,852 แห่ง โดยในการตอบแบบสอบถามนั้นได้ขอความร่วมมือในการกรอกข้อมูลจากบุคลากร

                                   สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยมีตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งละ
                                   1 คน ได้แก่ ปลัด รองปลัด หรือผู้อำนวยการฝ่าย/กอง/สำนัก ซึ่งดำรงตำแหน่งในองค์กร

                                   ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม

                                   î  เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ

                                         การสำรวจสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในครั้งนี้ ได้แบ่งกระบวนการ

                                   ดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจาก
                                   แบบสอบถาม

                                         1). การสำรวจข้อมูล ใช้แบบสอบถามความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ประกอบด้วย

                                   ข้อคำถามจำนวน 77 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

                                           ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 ข้อ
                                           ส่วนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็น

                                   ประชาธิปไตยท้องถิ่น ในมิติความเป็นสถาบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 35 ข้อ

                                           ส่วนที่ 3 ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็น
                                   ประชาธิปไตยท้องถิ่น ในมิติการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 34 ข้อ

                                           สำหรับข้อคำถามในส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับระดับความคิด

                                   เห็น โดยให้เลือกตอบ 4 ระดับ คือ ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยมาก และเห็นด้วยมาก
                                   ที่สุด


                                         2). การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ SPSS
                                   (Statistical package for social science) ในการบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก
                                   แบบสอบถามที่เก็บรวบรวมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                                          25   หากต้องการรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ในรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเป็น
                                   ประชาธิปไตยท้องถิ่น (ฉบับสมบูรณ์)



                                                                                                 สถาบันพระปกเกล้า   165
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182