Page 111 - kpi20470
P. 111
3. รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกตามแหล่งรายได้
โครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
17
3.1 รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง รายงานสถานการณ์
๏ รายได้จากภาษีอากรที่ท้องถิ่นเก็บเอง ประกอบด้วย 6 รายการ ได้แก่ ภาษี
โรงเรือนและที่ดิน, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, อากรฆ่าสัตว์, อากรรังนกอีแอ่น และ
ภาษีท้องถิ่นจากยาสูบ น้ำมันและโรงแรม 18
๏ รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ประกอบด้วย 4 รายการ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และ
ใบอนุญาต, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากสาธารณูปโภค และรายได้เบ็ดเตล็ด
3.2 รายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้
ประกอบด้วย 10 รายการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีสุรา และเบียร์,
19
ภาษีสรรพสามิต, ภาษี และค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน, ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์,
ภาษีการพนัน, ค่าภาคหลวงแร่, ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และอื่นๆ 20
3.3 รายได้จากภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้
ประกอบด้วย 1 รายการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ 2 สถิติและข้อมูล : สถานการณ์การกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
3.4 เงินอุดหนุน
ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป, เงินอุดหนุนทั่วไปกำหนดวัตถุประสงค์
21
และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
17 ดวงมณี เลาวกุล. (2552). การปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เปนไท, น. 65-66.
18 เป็นรายได้เฉพาะของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่านั้น ยกเว้นภาษีโรงแรมที่ กทม.มีสิทธิจัดเก็บได้.
19 รวมที่จัดสรรให้ตาม พระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2534 (1 ใน 9) พระราชบัญญัติ เมืองพัทยา และ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด.
20 รวมรายได้ตามกฎหมายอุทยานฯ ค่าภาคหลวงป่าไม้ ค่าธรรมเนียมน้ำบาดาล และอาชญาบัตรประมง.
21 ถูกยุบรวมเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551.
สถาบันพระปกเกล้า