Page 29 - kpi20431
P. 29

แนวทางด�าเนินการ


                    ในการแก้ไขปัญหาทางสังคม ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้มี
            ส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหาแนวทางดำาเนินการให้บรรลุผล
            จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วม

            ของประชาชน (People’s Audit) รุ่นที่ 9 ของสถาบันพระปกเกล้า

            จึงได้นำากระบวนการและเทคนิคการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีมาใช้ เพื่อเอื้อ
            อำานวยกระบวนการกลุ่มของผู้มีส่วนร่วมให้ได้แนวทางที่สร้างสรรค์และเป็น
            ประโยชน์กับชุมชน โดยใช้เทคนิคพื้นฐานของกระบวนการกลุ่ม 2 ลักษณะ

            คือ วิธีการสนทนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์(ORID Method) และ

            วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Work Shop Method) ซึ่งในความเป็นจริง
            นอกจากต้องอาศัยหลักวิชาตามหลักสูตรที่ได้อบรมมาแล้ว ยังต้องอาศัย
            เทคนิควิธีและประสบการณ์ด้านอื่น ๆ มาผสมผสานให้เหมาะสมกับ

            แต่ละเรื่อง แต่ละสถานการณ์ จึงไม่ใช่ง่ายเลยที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ดังที่มุ่งหวัง

            แต่การได้เริ่มต้นโดยการนำากระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้ ก็เป็นการปูทาง
            ไปสู่ความสำาเร็จในชั้นต้นแล้ว มหาวิทยาลัยจึงเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
            มามีส่วนร่วมโดยกำาหนดขั้นตอนแนวทางดำาเนินการไว้ดังนี้


                     1.  จัดประชุมประชาคมรอบมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่แนวคิด
                         โครงการของมหาวิทยาลัย และรับฟังข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วม

                         ประชุม ใช้เป็นข้อมูลวางแผนการทำางานต่อไป

                     2.  จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม โดยมีคณะ

                         กรรมการในแต่ละระดับ คือ คณะกรรมการอำานวยการ (ระดับ
                         นโยบาย) คณะกรรมการดำาเนินงาน(ระดับแปลงนโยบายสู่การ

                         ปฏิบัติ) คณะทำางาน(ระดับปฏิบัติการ) ซึ่งทุกคณะกรรมการ
                         จะมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย

           28
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34