Page 125 - kpi18508
P. 125

12


             บริหารส่วนจังหวัดสงขลาเล็งเห็นว่าความรู้สึกปลอดภัยของประชาชนเมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน
             ที่ไม่คาดคิดคือเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับ
             ประชาชนว่าทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันเวลา แม้ในเวลานั้นผู้ป่วยจะไม่มี
             ยานพาหนะส่วนตัวก็ตาม

                  เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น องค์การบริการส่วนจังหวัดสงขลาจึงได้เริ่มโครงการื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น องค์การบริการส่วนจังหวัดสงขลาจึงได้เริ่มโครงการ
                  เน เน
                                    น น
             พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน “หนึ่งตำบลึ่งตำบล หนึ่งกู้ชีพ” ขึ้น โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติการครอบคลุม
             พื้นที่ ร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิ สำนักงานสาธารณสุข
             จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา
             โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลเอกชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงาน
             ตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ

             โทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 4 (สงขลา) และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยมี
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาทำหน้าที่เป็นผู้จัดตั้ง “ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา
             1669” อันเป็นความพยายามทำให้เกิดศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินกลางที่เป็นการประสานพลังของ
             3 ศูนย์ ได้แก่ 1. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา 2. ศูนย์ควบคุมระบบ
             โทรทัศน์วงจรปิดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และ 3. ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธร
             จังหวัดสงขลา เข้าด้วยกัน โดยใช้เพียงหมายเลขเดียว คือ 1669 เท่านั้น โดยเครือข่าย
             มีลักษณะการทำงานโดยสังเขปดังนี้ เริ่มจากเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรืออบุติเหตุเกิดขึ้น ผู้ป่วย

             ญาติผู้ป่วย หรือผู้ที่อยู่ในจุดเกิดเหตุ ณ เวลานั้นโทรเข้ามายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด
             สงขลา 1669 เพื่อแจ้งพิกัดที่เกิดเหตุ อาการของผู้ป่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซึ่งปัจจุบันศูนย์รับแจ้ง
             เหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 จะมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อรับแจ้งเหตุจำนวน 5 คน พนักงาน
             วิทยุสื่อสาร 3 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ 1 คน นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) 2 คน
             พยาบาลวิชาชีพ (Full time) 1 คน พยาบาลวิชาชีพ (Part time) เวรละ 1 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่

             ตำรวจซึ่งนั่งประจำในศูนย์โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อรับแจ้งเหตุและอำนวยความสะดวก
             ให้แก่ยานพาหนะฉุกเฉินอีกด้วย เมื่อทราบพิกัดแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งไปยังศูนย์สั่งการในพื้นที่
             ที่ใกล้เคียงที่สุดเพื่อส่งยานพาหนะพร้อมเจ้าหน้าที่ไปยังที่เกิดเหตุให้ได้ภายใน 8 – 10 นาที
             ซึ่งปัจจุบันมีรถพยาบาลฉุกเฉินทั้งสิ้น 118 คัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน
             เบื้องต้น (First Responder Unit : FR) 2. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (Basic Life Support
             Unit : BLS) และ 3. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advance Life Support Unit : ALS) โดย



             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130