Page 95 - kpi17721
P. 95
ที่สำคัญที่สุด คือ เทศบาลฯ มีหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยและให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชน แต่การดูแล
การวินิจฉัยโรค การรักษาความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นหน้าที่ของบุคลากรวิชาชีพ
ทางการแพทย์ที่มีทักษะเฉพาะตัว ซึ่งทางเทศบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข
ท้องถิ่นใจดี จะมีส่วนสร้างระบบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ และนำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกัน
กล่าวได้ว่า เป็นการให้บริการที่มีชุมชนเป็นฐาน (Community-based) กล่าวคือ การจัดตั้ง
และจัดทำระบบการดูแลสุขภาพที่ใกล้บ้านใกล้ชุมชนเพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ เน้นการมี
ส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในชุมชนและสอดคล้องกับ
วิถีชุมชนแบบดั้งเดิม โดยมีการกำหนดรูปแบบการทำงานอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำการประเมิน
สุขภาพผู้สูงอายุโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การพัฒนาแผนการรักษา การประเมินความต้องการทางด้าน
สุขภาพและสังคมเป็นระยะเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลง โดยนัยนี้การบริการที่มีชุมชนเป็นฐาน
จึงหมายถึงบริการสุขภาวะที่มีการจัดการโดยชุมชนทั้งนี้อาจเป็นการจัดบริการของหน่วยงานในหรือ
นอกชุมชนก็ได้ เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวได้สร้างจุดร่วมที่ทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมทางด้าน
3
สุขภาพของผู้สูงอายุเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเกิดเป็นความสำเร็จของโครงการ เพราะแต่ละ
หน่วยงานมีเป้าหมายผลประโยชน์ร่วมกันในการให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลตนเอง ไม่ต้อง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
เป็นภาระหรือพึ่งพิงผู้อื่นและมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของ
ครัวเรือนด้วย
ระดับการมีส่วนร่วมที่เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวดำเนินการ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ คือ
1. ดำเนินการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการสำรวจข้อมูลเพื่อปรึกษาหารือร่วมกัน หลังจาก
การศึกษาดูงานของกองสาธารณสุข เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวว่าจะมีการสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุ
ระยะยาวขึ้น จึงได้นำเรื่องดังกล่าวหารือกับฝ่ายบริหาร กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 7 ชมรม สถานีอนามัย
บุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาล หน่วยงานราชการในพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ
โดยนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปในการประชุมชาคมหมู่บ้าน เพื่อระดมแนวความคิดในการทำงานโครงการ
มีการเปิดเวทีให้สมาชิกได้หาแนวทางร่วมกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเสนอความคิดเห็น
พร้อมซักถามซึ่งถือว่าเป็นระดับการมีส่วนร่วมขั้นปรึกษาหารือ (Consult) กล่าวคือ เป็นการ
4
เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ให้ข้อมูล ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ความรู้สึกนึกคิดของโครงการ
3 สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, “รูปแบบการ
ดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุระยะยาวโดยชุมชน,” วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว (2552): 24.
4 อรทัย ก๊กผล, Best Practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมี
ส่วนร่วมของประชาชน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2552), หน้า 178-179.
88 สถาบันพระปกเกล้า