Page 217 - kpi17721
P. 217
ของเสียงข้างมาก (Majority Rule) และหลักการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)
กล่าวคือ ในการลงมติเพื่อยอมรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการร่วมกันของประชาชม
ตำบลหนองแปนนี้ โครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากที่ประชุม
ท้องถิ่นใจดี ก่อน อย่างไรก็ดี การดำเนินงานเพื่อจัดให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลหนองแปนนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงหลักความสำคัญและเรียงลำดับความสำคัญของ
โครงการที่จะต้องดำเนินการก่อนหลังประกอบด้วย ดังนั้น ในบางกรณีแม้โครงการหรือกิจกรรมที่ได้
รับคะแนนเสียงข้างน้อยจากมติที่ประชุมเวทีสาธารณะก็อาจจะเป็นโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อ
แก้ไขปัญหาโดยด่วนก็เป็นได้ แต่ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากชุมชนนั้นมีจำนวน
บุคคลที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนที่น้อย ประกอบกับชุมชนอื่น ๆ ที่มีจำนวนตัวแทนที่เข้าร่วมประชุม
ที่มากกว่าก็ทำให้คะแนนเสียงในการลงมติชนะฝ่ายเสียงข้างน้อยได้ กระบวนการบริหารงานดังกล่าว
นี้จึงอาศัยรูปแบบของกระบวนการประชาธิปไตยที่อาศัยหลักความสมานฉันท์ของประชาชนภายใน
ท้องถิ่นนั้น ๆ เนื่องจากหากโครงการที่จำเป็นต้องเร่งจัดทำเร่งด่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะกาลนั้น
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปนจะมีการแจ้งและให้เหตุผลประกอบแก้ที่ประชุมเวทีสาธารณะ
การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
ในแต่ละครั้งด้วย การดำเนินการนี้จึงเป็นการดำเนินการที่สร้างความสมานฉันท์ปรองดองให้แก่คนใน
ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
- การจัดประชุมเวทีสาธารณะ (เวทีโสเหล่) นอกจากจะช่วยให้เกิดการพัฒนาคนให้
สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยแล้ว การดำเนินการรูปแบบดังกล่าวยังทำให้องค์การบริหาร
ส่วนตำบลหนองแปนพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานขององค์การ
บริหารส่วนตำบลหนองแปนผ่านการประชุมในเวทีสาธารณะดังกล่าว
- ผลจากการสร้างกฎ กติกา และการช่วยกันดูแลรักษาป่าชุมชนภูรวก จึงก่อให้เกิดความ
อุดมสมบูรณ์ของผืนป่ากลับมาอีกครั้ง ประชาชนในพื้นที่สามารถเก็บของป่าเพื่อการบริโภคและ
จำหน่ายก่อให้เกิดรายได้ต่อไป รวมถึงสามารถนำทรัพยากรจากผืนป่ามาประยุกต์เป็นอาชีพเสริม เช่น
กลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้า โดยการนำไม้จากป่าชุมชนมาผลิตเป็นด้ามไม้กวาด เป็นต้น นอกจากนี้
ประโยชน์ในการอนุรักษ์ป่ายังช่วยการพังทลายของดิน รวมถึงช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่
สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี การดำเนินโครงการเฝ้าระวังภูรวกสาธารณะประโยชน์จึงเป็นโครงการที่
เป็นผลผลิตที่เป็นรูปธรรมของการจัดประชุมเวทีสาธารณะ (เวทีโสเหล่) ที่สอดคล้องกับแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน
ในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูล ด้วยการส่งเสริมสิทธิ
ชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้ประโยชน์และ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ รวมทั้งการสร้างกลไกในการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
210 สถาบันพระปกเกล้า