Page 164 - kpi17034
P. 164
การสร้างสำนึกพลเมือง
4. ได้ข้อมูลที่เหมาะสมในการจัดทำเป็นบอร์ดนิทรรศการและ
แฟ้มผลงานเพื่อนำเสนอ
สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคือ
1. เพื่อยืนยันสภาพปัญหา สาเหตุและความสำคัญของปัญหา
ดังกล่าว
2. เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา
3. เพื่อกำหนดแนวทางในการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
4. เพื่อนำมาตรวจสอบแนวทาง / มาตรการ / นโยบายสาธารณะ
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ส่วนที่ 2)
5. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเลือกแหล่งข้อมูลที่จะหาปัญหา
เพิ่มเติม
ดังนั้น คุณครูหรือผู้นำกระบวนการจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้ทบทวนว่าปัญหานั้นมีแหล่งข้อมูลใดเกี่ยวข้องบ้างที่สามารถศึกษา ค้นคว้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นได้บ้าง และ
สามารถเก็บข้อมูลโดยวิธีใดได้บ้าง เนื่องจากแหล่งข้อมูลนั้นมีจำนวนมาก
หลากหลายประเภท เช่น ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ นักวิชาการ ทนายความ
ผู้พิพากษา องค์กรชุมชนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เครือข่ายข้อมูลอิเล็กทรอนิก
และแหล่งปัญหา เป็นต้น ซึ่งไม่ว่านักเรียนจะเลือกแหล่งข้อมูลใดในการ
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ แหล่งข้อมูลนั้นมีข้อมูล
ที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาหรือไม่
1