Page 79 - kpi15695
P. 79

คํ  า  พิ  พ  า  ก   ษ  า  น่  า  รู้
                          ค ดี ป ก ค ร อ ง ข อ ง อ ง ค์ ก ร ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น


              ๖.๖. สิทธิรับเบี้ยหวัดทหาร


                                   สิทธิรับเบี้ยหวัดทหาร

                 จ่าเอกยุทธพงศ์ เคยรับราชการทหารเรือ และได้ลาออกเป็นทหาร

              กองหนุนรับเงินเบี้ยหวัดจากแผนกสัสดี จังหวัดนราธิวาส ในอัตราเดือน
              ละ ๑,๙๗๗ บาท  ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๙ ได้สอบบรรจุ
              เข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล ทางแผนกสัสดี จังหวัดนราธิวาส

              จึงได้งดจ่ายเงินเบี้ยหวัดให้แก่จ่าเอกยุทธพงศ์ โดยอ้างว่าผิดข้อบังคับ
              กระทรวงกลาโหม และจ่าเอกยุทธพงศ์เป็นข้าราชการซึ่งจะต้องอยู่ใน
              บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญเหมือนข้าราชการอื่นๆ
              จ่าเอกยุทธพงศ์เห็นว่าตนเองมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยหวัดตลอดไป จึงได้มา
              ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง


                 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ. ๔๘๑/
              ๒๕๕๑ ว่า เบี้ยหวัดเป็นเงินค่าตอบแทนที่ทางราชการจ่ายเป็นรายเดือน
              ให้แก่ทหารที่ออกจากราชการเป็นทหารกองหนุนโดยนำระยะเวลาการ
              รับราชการเป็นทหารประจำการของทหารผู้นั้นมาเป็นเกณฑ์การ

              คำนวณเบี้ยหวัดดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเงินบำนาญที่จ่ายให้แก่
              ข้าราชการ และตามข้อ ๘ (๓) ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วย
              เงินเบี้ยหวัด พ.ศ. ๒๔๙๕  กำหนดว่า ทหารซึ่งได้รับเบี้ยหวัดอยู่แล้ว
              ให้งดรับเบี้ยหวัดในกรณีเข้ารับราชการในตำแหน่งซึ่งมีสิทธิจะได้รับ

              บำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนั้น
              การที่จ่าเอกยุทธพงศ์ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นทหารกองหนุนได้รับเบี้ยหวัดแล้ว
              ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล ซึ่งตามมาตรา ๔ แห่ง
              พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๐๐

              มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น บัญญัตินิยามคำว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่น




                                            0
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84